ปกติ ไม่สนับสนุนงานของกลุ่ม พันธมิตรประชาชนฯ กปปส. ปกป้องสถาบัน พวกคลั่งเจ้า พวกหมารับใช้ รวมๆก็คือ พวกต่อต้านประชาธิปไตย
ดังนั้น เมื่อมีบทความที่พาดพิง หรือ จำเป็นต้องนำมาลง ก็ขอให้พิจารณาในการอ่านและคิดให้ถี่ถ้วน ก่อนจะส่งต่อหรือนำไปขยายความคิด
ตกลงคุณสนธิ ลิ้มทองกุล หรือทืมงานคุณสนธิ อ่านหนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี ของ ณัฐพล ใจจริง หรืออ่านแค่ข้อเขียนของไชยันต์ ไชยพร ที่พูดถึงหนังสือเล่มนี้ และหนังสือที่แนะนำให้สนธิ ลิ้มทองกุลไปอ่านเพิ่มเติม
…………………
เพิ่งได้ฟังคลิปคุณสนธิ ลิ้มทองกุล พูดถึงผม และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน“ฟ้าเดียวกัน” ต้นไม้พิษ
https://www.facebook.com/sondhitalk/videos/190156095936969
ผมคิดว่า คุณสนธิ ลิ้มทองกุล หรือทืมงานคุณสนธิ ไม่ได้อ่านหนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี ของ ณัฐพล ใจจริง เพราะทั้งหมดนั้น เพียงแต่ไปเอาข้อเขียนของไชยันต์ ไชยพร มาผลิตซ้ำเท่านั้น
และที่อ้างว่าวิทยานิพนธ์ ของณัฐพลผิดพลาดถึง 30 จุดนั้น ผมไม่คิดว่าสนธิ หรือทีมงานจะได้ตรวจสอบว่าผิดอย่างไร
สนธิ ทำได้แต่เพียงคัดลอกไชยันต์ ตาม ๆ กันมา
ซึ่งประเด็นนี้ณัฐพล ก็ได้ชี้แจงแล้วว่า
“ส่วน 30 จุดในวิทยานิพนธ์ที่อาจารย์ไชยันต์กล่าวหาว่าผมจงใจ “กุ” นั้น บางจุดเป็นการตีความที่แตกต่างกัน หรือเป็นเพราะอาจารย์มิได้นำบริบทเข้ามาตีความด้วยดังที่ผมอธิบายไปข้างต้น แต่กลับโจมตีว่าผมอ้างผิดทำนองเดียวกับจุดนี้ ทั้งที่หลายจุดเป็นความผิดพลาดของผู้กล่าวหาเอง เช่น ใช้เอกสารที่ไม่ตรงวัน เดือน ปี และแผ่น ใช้เอกสารผิดชิ้น ใช้เอกสารไม่ครบถ้วนตามที่ผมระบุในวิทยานิพนธ์ ดังที่ผมได้เคยชี้แจงต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปแล้ว”
ตอบไชยันต์ ไชยพร : เรื่องวิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์
https://www.facebook.com/sameskybook/posts/3683273225055043
ผมคิดว่าคนที่จะช่วยคุณสนธิ มากที่สุด คือ รุ่งมณี เมฆโสภณ มือขวาที่คุณสนธิไว้ใจในความสามารถมากคนหนึ่ง
คุณรุ่งมณีได้เขียนหนังสือ 2 เล่มที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ของคุณสนธิเองคือ
1.
อำนาจ : ลอกคราบการเมืองไทย อุดมการณ์ เพื่อชาติ และญาติมิตร (กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2554.)
2.
อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย(กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555.)
หนังสือทั้ง 2 เล่มนั้นก็ได้วิทยานิพนธ์“การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) ที่คุณสนธิ รังเกียจหนักหนานั่นแหละมาประกอบภาพการเมืองไทยในช่วงดังกล่าว
Pingback: ขุนศึก-ศักดินา-พญาอินทรี (ต่อ) – Thai Human Rights