Recap – Elephant Ticket

Recap – Elephant Ticket

KTUK – คนไทยยูเค

1Sn1tSpouenshorehd  · รีแคปเรื่อง #ตั๋วช้าง จากสำนักข่าวต่างประเทศ!!! อายมั้ย คนไทย?? ตั๋วช้าง-ภาพลักษณ์ประเทศ ไปไกลถึงต่างชาติแล้ว ประเทศเราคอร์รัปชั่นเละตุ้มเป๊ะ ภายใต้การนำของ ร.10 และคณะไอ้ตูบ

นำเอาไฮไลท์ของสื่อนอก มาแปล ให้ฟังคร่าวๆ ตามภาพประกอบเครดิตข่าว: https://www.scmp.com/…/thailand-elephant-ticket-trends…

จะบอกว่า ต่างชาติเขารู้ถึงไส้เน่าความคอร์รัปชั่นในระบบประยุทธ์ เขาถึงกลัวไม่กล้ามาลงทุน แต่พวกสลิ่มมันก็อ้างกลัวแต่ตกเป็นเมืองขึ้นชาติอื่น(ใช้มุขเดิมๆสมัยพระเจ้าเหา)

หารู้ไม่ว่าขณะนี้ประเทศไทยภายใต้การนำของประยุทธ์ที่มีนโยบายมุ่งเน้นช่วยเหลือแต่ สถาบัน-ทหาร-และเจ้าสัว ทำให้ประเทศไทยมี GDP ติดลบมากในภูมิภาคอาเซียนแล้ว!!!

✔️ คอร์รัปชั่นการเมือง

✔️ เศรษฐกิจเละตุ้มเป๊ะ

✔️ เอาแต่พวกพ้อง สถาบัน-ทหาร-เจ้าสัว

✔️ คนไทยยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด

✔️ประเทศไทยไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยว

มันจะเป็นแบบนี้ไปอีกอย่างน้อย 10-30ปี หากคนไทยไม่ออกมาร่วมต่อต้าน ร่วมประท้วงไล่ทรราช แก้ไขรัฐธรรมนูญ (เอาส.ว.250ออก) และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพราะทุกอย่างเขาวางระบบรากฐานไว้แล้ว… จำไว้ 10-30ปี แน่นอน

This Week in Asia / Politics

In Thailand, ‘elephant ticket’ trends on Twitter amid talk of police corruption as PM Prayuth survives no-confidence vote

An opposition lawmaker revealed a list of officers who allegedly gained promotions bypassing official selection process during a parliamentary debateThe premier survived a no-confidence vote on Saturday after four days of arguments as protests calling for the government to resign continue

SCMP Reporters

SCMP Reporters

Published: 9:50pm, 20 Feb, 2021

A list of Thai police officers who allegedly vaulted up the ranks of seniority has gone viral after an opposition lawmaker revealed it during the four-day debate on a no-confidence motion against the army-aligned administration of Prime Minister Prayuth Chan-ocha.

Move Forward Party’s Rangsiman Rome, who accused the administration of Prayuth and his deputy Prawit Wongsuwon of promoting a culture of patronage and cronyism inside the force, presented the so-called “Tua Chang” – or elephant ticket – list during the discussion on Friday.

The document from 2019 alleged that 16 police officers rose through the ranks bypassing the arduous official selection process.

“This might be the most dangerous thing I’ve ever done as an MP, but I must proceed because the people have elected me to represent them,” Rangsiman told the chamber.

“Let me ask you General Prayuth whether you’re aware that such corrupt practices were taking place? Or perhaps you are just protecting your network.”

The fast-tracking of individuals, “demotivates police officers … who want to work hard and be rewarded but without any connections … end up with no place to stand in their unit,” he added.

Thailand’s estimated 230,000-strong police force is a key player in the kingdom’s power games.While low-ranking officers are poorly paid and widely mistrusted by the public for corruption, senior officers – often from privileged families – declare assets running into millions of dollars and graduate from the force into politics, business and the inner circle of Thai King Maha Vajiralongkorn.

Commanders travel in large entourages when visiting crime scenes and attract blanket media attention as they stamp their authority on high-profile cases – mostly when the culprit is caught.

Prayuth’s government has moved to blunt the influence of the force since a 2014 coup, with a series of reshuffles and bureaucratic shake-ups. The officers are now tucked under the control of the powerful ex-army chief Prawit.

Faced with the accusations, Prawit, who is notoriously aloof to his critics, stood up for one of the few times in the four-day debate to say “none of it [the allegations] are true, thank you” before walking out.

But lawmaker Rangsiman’s revelation reverberated on social media as Thais reacted to the murky workings of the police. Hundreds of thousands of tweets with the hashtags #elephantticket and #policeticket dominated Twitter on Saturday.

“This is all the police without ‘tickets’ will ever be,” said a user, who tweeted a video clip of riot police marching under a hot sun near the parliament on Friday.

Among the names on the list was Chanan Chaijinda, son of the recently-retired commissioner Chakthip Chaijinda. He was promoted to a commander in a border police unit after serving three years as a deputy inspector. It takes around seven years to attain that rank.

Prawit defended the legality of Chanan’s promotion at the time by snapping back at reporters asking about the perceived nepotism, saying “do you love your son?”

There was no official comment from police on the “elephant ticket” allegations.

Paul Chambers, Special Adviser on International Affairs at the Centre of Asean Community Studies, Naresuan University, said a “deeply entrenched patronage system” undergirds Thailand’s police and military.

“There is profit connecting bureaucrats to businesspeople underlying this patronage system. This patronage system bestows security force influence in support of monarchy but draws from monarchical endorsement as well,” he said.Prayuth survived the no-confidence vote on Saturday as pro-democracy protests calling for him to resign continued in Bangkok.

A demonstrator said the “elephant ticket” saga showed the police were not working for the people, but were controlled by “big power”

Shadowy businesses from drug and people trafficking to illegal gambling dens are often found to have police links. But when corrupt officers get exposed, they are moved to “inactive” posts rather than sacked or prosecuted.

Last December, the chief of Rayong provincial police was transferred after Covid-19 clusters emerged at illegal casinos operating under his jurisdiction.

Political observers have pointed to how previously unfancied officers advanced in their careers under Prawit’s watch.

Among the most-talked about was Surachate “Big Joke” Hakparn, whose hyper-speed rise to immigration chief saw him tipped for a run at the commissioner’s job.

But Surachate’s ambitions ran aground in 2019 after he alleged corruption in the procurement of a US$65 million biometric system by the Royal Thai Police. Soon after, his car came under gunfire in a Bangkok street.

Surachat was abruptly transferred from his job and then swiftly left for India for a stint as a monk.

It Hurts Our Family, you know? – Voice from police spouse.

ต้นฉบับ : https://thematter.co/social/what-happens-in-royal-thai-police/136416

“รู้ไหมว่ามันทำร้ายครอบครัวเราแค่ไหน” เสียงจากคนรักของตำรวจที่ถูกสั่งให้ไปธำรงวินัย

 Posted On 24 February 2021 Kwanchai Dumrongkwan

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ทั้งในสภาและนอกสภา) ของ ‘รังสิมันต์  โรม’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เรียกเสียงฮือฮาจนทำให้แฮชแท็ก #ตั๋วช้าง ขึ้นอันดับหนึ่งเทรนด์ทวิตเตอร์อย่างรวดเร็ว

จากจำนวนหลายสิบสไลด์ที่บอกเล่าความไม่ชอบมาพากลในการได้ตำแหน่งของตำรวจบางคนนั้น มีบางสไลด์ที่บอกเล่าปัญหาการคัดเลือกตำรวจเพื่อย้ายไปกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ระหว่างนั้นคำสั่งเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง จนไปจบที่การคัดเลือกไปเป็นข้าราชบริพารเพื่อฝึกเป็นตำรวจราบในพระองค์

‘ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์’ หรือ ‘ทนายแจม’ เป็นทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หากใครติดตามข่าวการเมืองอยู่บ้าง หลายปีที่ผ่านมาคงคุ้นเคยกับภาพที่เธอให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อคดีการเมืองต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว ขณะเดียวกัน เธอยังเป็นแม่ของลูก 2 คน และเป็นภรรยาของนายตำรวจด้วย

ทุกอย่างควรดำเนินไปตามปกติ ฝ่ายชายทุ่มเทกับอาชีพตำรวจ ฝ่ายหญิงทุ่มเทกับอาชีพทนายความ เมื่อเลิกทำงานก็ต่างมาทุ่มเทให้ลูก 2 คนในบทบาทพ่อและแม่ จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ.2562 มีหนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ ความว่า “ด้วยกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ จะดำเนินการคัดเลือกนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มาบรรจุลงในกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904”

ตำรวจ 1,319 นายจากหลายหน่วยงานคือผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ในจำนวนนั้นตำรวจ 66 นายแจ้งว่าติดปัญหาส่วนตัว พวกเขาถูกส่งตัวไปปรับทัศนคติ การคัดเลือกกึ่งบังคับทำให้ตำรวจหลายนายตัดสินใจลาออก ขั้นตอนดำเนินไปเรื่อยๆ จนได้ตำรวจ 873 นายที่เตรียมไปฝึกเป็นตำรวจราบในพระองค์

เมื่อถึงขั้นตอนที่ต้องเลือกอย่างเลี่ยงไม่ได้ สามีของทนายแจมคือ 1 ใน 100 คนที่ตัดสินใจว่า ไม่ไปและไม่ลาออก (ก่อนหน้านั้นเขาเคยลาออกแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ) แม้จะอธิบายเหตุผลแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีคำสั่งฝึกธำรงวินัยออกมา ตำรวจ 3 นายตัดสินใจลาออกทันที

นั่นหมายความว่า ตำรวจ 97 นายต้องเข้าสู่การฝึกธำรงวินัยเป็นระยะเวลา 9 เดือน

คนรักไม่ได้เจอกัน 9 เดือนว่าเนิ่นนานแล้ว แต่นี่คือคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามีของเธอต้องฝึกหนักฝึกโหดอย่างไร้เหตุผล ช่วงเวลานั้นเธอเครียดอย่างที่สุด เฝ้ารอวันที่พ่อ แม่ และลูกสองคนจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา แม้ว่าปัจจุบันเขาจะได้กลับมาทำงานเป็นตำรวจเช่นเดิมแล้ว แต่ความทรงจำนั้นยังเป็นบาดแผลที่ฝังลึกในใจของเธอมาตลอด

หลังจากการอภิปรายนั้นเพียงไม่นาน เธอตั้งสเตตัสเฟซบุ๊กว่า สามีของเราคือ 1 ใน 97 คนนั้น

เรื่องจบไปหลายเดือนแล้ว อยู่เงียบๆ ก็ปลอดภัย คุณมูฟออนไปทำอย่างอื่นไม่ดีกว่าเหรอ” ผมอยากรู้เหตุผลของเธอ

“หลังจากโรมออกมาพูด ต้องมีคนออกมาพูดว่า ‘เฟกนิวส์หรือเปล่า’ ‘คิดไปเองหรือเปล่า’ เราเลยอยากซัพพอร์ตว่า สิ่งที่โรมพูดคือเรื่องจริง” น้ำเสียงของเธอหนักแน่น

ไม่ว่าคุณจะเชื่อเรื่องนี้หรือไม่ก็ตาม บรรทัดหลังจากนี้ คือเสียงจากคนใกล้ชิดของตำรวจที่ถูกสั่งฝึกธำรงวินัย ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทำโทษที่ไร้เหตุผล และเป็นการทำร้ายชีวิตคนอย่างเจ็บปวด

คุณเริ่มรู้จักกับสามีคนนี้ได้ยังไง

เรารู้จักกันตอนเรียนนิติศาสตร์ที่ มสธ. (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) เราเรียนจบบัญชีจากมหิดล ส่วนเขาจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เราต่างมาเรียนปริญญาใบที่สอง หลังจากสอบทุกอย่างจบแล้ว มสธ. มีจัดอบรม 5 วัน คนมาอบรมทั้งหมดร้อยกว่าคน เราสองคนอยู่กลุ่มย่อยเดียวกัน เริ่มจากคุยเรื่องทั่วไป แล้วมาเรื่องการเมือง จำได้ว่าหนึ่งในนั้นคือเรื่องอากง (อำพล ตั้งนพกุล ชายอายุ 61 ปีที่ถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความดูหมิ่นแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ฯ รวม  4 ข้อความ เขาถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ก่อนจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งระหว่างจำคุก) ซึ่งปกติเราไม่ค่อยได้คุยกับใครเรื่องนี้

ช่วงนั้นบ้านเรามีเหตุการณ์น้ำท่วม เราออกไปช่วยที่เต๊นท์ตรงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ช่วยงานต่างๆ และร้องเพลงระดมทุนซื้อของบริจาค นอนที่นั่นเลย วันอบรมก็มาด้วยสภาพที่ไม่ได้อาบน้ำ หน้าสดเลย (หัวเราะ) หลังจากอบรมครบ เขาก็ตามมาที่เต๊นท์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ สน. ที่เขาอยู่

ตอนนั้นเราทำงานหลายอย่าง ทั้งผู้ตรวจสอบบัญชี ร้องเพลงตอนกลางคืน สอนอูคูเลเล่ในวันเสาร์อาทิตย์ และเปิดร้านเหล้าด้วย เขาบอกว่าดูเป็นผู้หญิงเก่ง เราไม่ได้ชอบตำรวจเลย มองเป็นอาชีพที่ปรับนั่นปรับนี่ ชอบจับคนไม่ใส่หมวกกันน็อค (หัวเราะ) แต่เขาเป็นตำรวจที่มีอุดมการณ์ ตอน ม.ต้น เขาเคยโดนโจรจี้เอามือถือ แต่ตำรวจจับโจรไม่ได้ เขาเลยอยากเป็นตำรวจเพื่อทำหน้าที่นั้น สิ่งหนึ่งที่เราชอบเหมือนกันคือการดูหนัง ดูสัปดาห์ละหลายเรื่อง เป็นกิจกรรมที่ได้ใช้เวลาร่วมกัน

หลังจากรู้จักกันมากขึ้น เขาเป็นตำรวจแบบไหน

เขารักในอาชีพตำรวจมาก อยากขึ้นตำแหน่งด้วยความสามารถ ไม่ชอบไปตามนาย ไม่อยากไต่เต้าด้วยวิธีอื่น และแอนตี้วิธีการแบบนั้นมาก หลังจากคุยกันไปสักระยะ เขาต้องเข้าเวรเป็นพนักงานสอบสวน เราเห็นเลยว่าตำรวจงานหนักมาก เข้าเวร ออกเวรก็ต้องทำสำนวน สืบหาข้อเท็จจริง แต่ละวันมีคนมาแจ้งความเยอะ วันหยุดก็ต้องทำสำนวน กลางคืนก็ต้องรับโทรศัพท์ เขาไม่ค่อยได้นอนเลย พอเราเปลี่ยนมาเป็นทนายความสิทธิ พูดยืนยันสิทธินั่นนี่ เขามักไม่พอใจแล้วบอกว่า “มุมตำรวจเป็นคนละมุมกับทนายความ” เวลาพูดถึงตำรวจในทางไม่ดี เขาโกรธ แล้วบอกว่า “รู้ไหมว่าตำรวจทำงานหนักขนาดไหน” เลยตกลงกันว่าจะไม่คุยเรื่องงาน คุยเรื่องทั่วไป เรื่องไปเที่ยว เรื่องดูหนัง และเรื่องการเมือง

ถ้าพูดถึงตำรวจในทางไม่ดีด้วยข้อเท็จจริงล่ะ

ก็ไม่ค่อยชอบ เขาจะเซฟตำรวจ รักองค์กร รักพี่น้องมาก เคยพูดว่า “ถ้าวันหนึ่งได้เป็น ผบ.ตร. เราจะทำให้สวัสดิการตำรวจดีขึ้น” ตำรวจทำงานหนัก แต่สวัสดิการห่วย เราอยู่แฟลตตำรวจก็สภาพทรุดโทรม ต่างจากทหารที่มีสวัสดิการเยอะกว่า ด้วยงบประมาณและสถานที่ที่มากกว่า ถ้าจะคุยเรื่องตำรวจ เราต้องหาคำพูดที่ซอฟต์สุดๆ (หัวเราะ)

การมีแฟนเป็นตำรวจ เรียนจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถือเป็นเรื่องน่าอวดไหม

ไม่เลย สิ่งที่เราพูดตลอดคือ เราไม่ได้ชอบเขาเพราะเครื่องแบบ ตอนเจอกันเขาก็นอกเครื่องแบบ เราชอบที่ความคิด ไม่ได้รักที่เป็นตำรวจ แต่รักที่เขามีอุดมการณ์ในอาชีพตำรวจ เขามุ่งมั่น ตั้งใจ มีความคิดทางการเมืองที่ดี และรักครอบครัวด้วย

เขาเล่าเรื่องงานให้ฟังบ้างไหม

ปรับทุกข์บ้าง เขาเป็นตำรวจที่มีความเป็นมนุษย์สูง ถ้าจับผู้ต้องหายาเสพติดมา เขาไม่ได้แค่จับ ทำบันทึก แล้วจบ แต่เขาจะคุย ชีวิตเป็นยังไง เติบโตมาในครอบครัวแบบไหน เขาเลยไม่ได้มองผู้ต้องหาว่าถูกหรือผิดอย่างเดียว เขามาเล่าว่า ผู้ต้องหาคนนี้น่าสงสาร พอออกจากคุกก็โดนด่าขี้คุก ทำงานไม่ได้ สุดท้ายชีวิตก็กลับไปเหมือนเดิม มาเล่าว่าผู้หญิงอายุ 13 ปีก็มีลูกแล้ว แต่ไม่ได้มองว่าใจแตก มองว่าครอบครัวเป็นยังไง แม่ก็มีลูกตอนอายุน้อย ไม่มีเวลาให้ลูก ทิ้งให้อยู่กับตายาย สิ่งที่เขาทำอยู่ตลอด คือการทำความเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดจากอะไร บางมุมก็โยงมาเรื่องการเมืองได้ นั่นคือเรื่องสวัสดิการ เรื่องนโยบายของรัฐควรเป็นยังไง เรื่องแบบนี้คุยได้ แต่เราด่าตำรวจไม่ได้ (หัวเราะ)

ชีวิตตำรวจของเขาเป็นยังไงบ้าง เติบโตก้าวหน้าดีไหม

หลายปีนั้นเขาย้ายไปประจำหลาย สน. จนช่วงหลังเปลี่ยนมาตามนาย ตั้งใจว่าครบสองปีจะขอย้ายมาอยู่ สน.ใกล้บ้าน ตอนนั้นเขาอันดับในรุ่นดีมาก ตามนายปีแรกมีลูกคนเดียว พอตามนายไปสักระยะ เราก็มีลูกคนที่สอง แต่อยู่ๆ ก็ฟ้าผ่า มีคำสั่งออกมา ช่วงแรกเราคุยกันว่าคงไม่โดนอะไรหรอก เพราะเป็นตำรวจที่มีครอบครัวแล้ว แต่พอผ่านการคัดเลือกไปเรื่อยๆ ก็เริ่มเอะใจ ตอนมี 66 คนขอสละสิทธิ์ เราบอกเขาว่า “ทำไมไม่ยกมือด้วย” เขาไปมองว่ายกมือขอสละสิทธิ์คือความอ่อนแอ ช่วงนั้นทะเลาะกันหนักมาก จบลงที่เขาบอกว่า ครั้งหน้าจะเขียนเป็นหนังสือว่ามีภาระครอบครัว แล้วขอไม่ไป

หลังจากคัดเลือกไปเรื่อยๆ จนเหลือ 800 กว่าคน หลายคนก็ลาออก หน่วยก้านดีๆ เรียนเก่งๆ คำสั่งให้เข้ารับการฝึก เขาไปคุยกับคนที่พอคุยได้ว่า เขาจะไม่ไป มีใครเอาด้วยไหม ช่วงนั้นเราเครียดมาก ถ้าทุกคนไปหมด เหลือเขาคนเดียว แบบนั้นจะทำยังไง จนออกมาว่าไม่ไป 100 คน ก็โล่งเปราะหนึ่งว่าคงไม่กล้าทำอะไรหรอก เราเปิดดู พ.ร.บ.ตำรวจเลย ไม่มีอะไรที่จะลงโทษได้เลย เลยชิล แต่สุดท้ายมีคำสั่งออกมาว่า สั่งให้ธำรงวินัย 100 คน ช็อกเลย มีตำรวจ 3 คนลาออกทันที แต่เขาพร้อมมาก ไม่กลัวเลย

เราเคยขอให้เขาลาออก เปลี่ยนมาทำธุรกิจไหม เขายื่นหนังสือลาออกไป แต่นายไม่เซ็น เพื่อนของแฟนก็ยื่น แต่นายก็ไม่เซ็นเหมือนกัน มีคำขู่ว่าถ้าใครมายุ่งกับ 800 กว่าคนจะซวย ไม่มีใครกล้ายุ่งเลย

ทำไมถึงคิดว่าต้องลาออก ถ้ามีเหตุผลเรื่องครอบครัว คุยกันดีๆ ไม่ได้เหรอ

เราปรึกษาหลายคน ถามว่าทำอะไรได้บ้าง ทุกคนพูดตรงกันคือ “ลาออกเลย” เพราะพูดไปก็ไม่มีประโยชน์หรอก หลังจากนายไม่เซ็นใบลาออก เขาเลยปล่อยหนังสือลาออกไปในที่สาธารณะ หนังสือมีคำว่า “ข้าพเจ้าหมดศรัทธา…” ว่อนเลย ผบ.ตร. บอกว่าเป็นหนังสือปลอม แต่มันคือหนังสือจริงที่ไม่มีใครกล้าเซ็น แต่หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมายอมให้ลาออก แต่เขาไม่ลาออกแล้ว มองว่าไม่ได้ทำอะไรผิด อยากลองสู้ในระบบ ถ้าไม่ไปจะทำอะไรได้ อย่างมากก็ผิดวินัย คงโดนกักตัว 3-4 วัน

ตอนเราขอให้ลาออก เขาบอกว่า “ตัวเองจำได้ไหม เค้าไม่เคยอยากเป็นอะไรนอกจากตำรวจ ถ้าเขาลาออกไป อาชีพอื่นไม่ใช่จิตวิญญาณที่อยากเป็นตั้งแต่แรก อีกอย่างถ้าลาออกไปตอนนี้ เขายังไม่ได้สู้อะไรเลย” เขาตัดสินใจขัดคำสั่งไม่ไปฝึก เลยโดนสั่งให้ไปธำรงวินัย คำสั่งธำรงวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เราถามว่า “ฟ้องไหม ธำรงวินัยไม่อยู่ใน พ.ร.บ.วินัยตำรวจ” ปรึกษากับน้องทนายที่เก่งๆ ก็ยินดีมาช่วย แต่สุดท้ายเขาตัดสินใจไม่ฟ้อง คงไปคุยอะไรกันในกลุ่ม 90 กว่าคนนั้น

ทุกคนคิดว่า ถ้าฝึก 9 เดือนแล้วจบ ก็ได้กลับมาเป็นตำรวจ มันดีกว่าถูกโอนไปอยู่กับอีกหน่วยงาน

ตอนมีคำสั่งแรกออกมา คิดไหมว่าจะมาถึงขั้นนี้

ไม่คิด การธำรงวินัยมีในวงการทหารมาตลอด แต่วงการตำรวจไม่เคยมี

ตอนนั้นคุณมองว่า ‘ธำรงวินัย’ คืออะไร

มันคือการทำโทษนั่นแหละ เอาไปกักตัว ไม่ให้เจอใคร ข่าวออกมาว่า คนพวกนี้สมัครใจ หน่วยงานสวัสดิการดีมาก ถ้ามันดีก็เปิดรับสมัครสิ ทำไมต้องบังคับ ถ้าจะบอกว่าหน่วยงานนั้นรับใช้สถาบันฯ เป็นตำรวจก็ช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ท่านไง ไม่ต้องรับใช้พระองค์ท่านเสมอไป

ทำไมการปฏิเสธย้ายหน่วยงานด้วยเหตุผลถึงต้องโดนทำโทษ ผู้บังคับบัญชาเคยบอกเหตุผลไหม

เขาเคยบอกนะ แต่เราจำไม่ได้แล้ว (เงียบคิด) แต่ที่แน่ๆ เวลาบอกว่า เราคือแฟนของตำรวจคนนี้ ตำรวจปากไม่ดีบางคนจะพูดกันว่า “พวกไม่จงรักภักดี” เราชอบที่แฟนบอกว่า “การแสดงความจงรักภักดีทำได้หลายแบบ ถ้ารัชกาลที่ 9 เคยดูแลประชาชนของพระองค์ท่าน การเป็นตำรวจแล้วได้ดูแลประชาชน ก็คือการทำงานถวาย ไม่ต้องถวายตัวดูแลใกล้ชิดเสมอไป

เหตุผลที่แฟนบอกว่า ยอมโดน 9 เดือนได้จบๆ ไป ตอนนั้นคุณเห็นด้วยไหม

ไม่ค่อย เราอยากให้ลาออกเลย เวลา 9 เดือนมันนานนะ เอามาทำอะไรได้ตั้งเยอะ เราอยากให้เขาได้อยู่กับลูก มันคือวัยที่ลูกน่ารักที่สุด ได้เห็นลูกคลาน เดินได้ครั้งแรก พูดได้ครั้งแรก (เงียบ น้ำตาไหล) เขาไม่ได้เห็นลูกเดินได้ครั้งแรก คำแรกที่ลูกพูดได้คือ “ป่าป๊า” แต่เขาไม่ได้อยู่ตรงนั้น ลูกถามหาป่าป๊าตลอด ช่วงที่เขาเปิดให้เยี่ยมได้ เราพาลูกไปเยี่ยม พอบ่ายสองต้องกลับ ลูกร้องไห้ลงกับพื้นดิน ถามเราว่า “หม่ามี้ ทำไมป่าป๊าไม่ได้กลับ” เราต้องบอกไปว่า “ป่าป๊ามาทำงาน เดี๋ยวก็ได้กลับแล้ว”

ปลายปี พ.ศ.2562 เดือนแรกเขาไปฝึกที่ จ.ยะลา เราติดต่อไม่ได้เลย รูปสุดท้ายที่ส่งมาคือกำลังจะขึ้นเครื่องบิน แล้วก็โดนยึดมือถือ ช่วงนั้นเราร้องไห้เกือบทุกคืน  เป็นห่วง กลัวมาก หลังจากนั้นถึงรู้ว่าเป็นช่วงทำโทษหนักมาก ไม่ให้อาบน้ำ เข้าไปอยู่ในป่า เข้าพื้นที่สีแดงตลอด เป็นการกดดันให้ใครไม่ไหวก็กลับไปอยู่หน่วยนั้น แต่มันไม่ได้ผลหรอก คนยิ่งโกรธยิ่งเกลียด หลังจากนั้นอีก 8 เดือนก็มาอยู่ที่หนองสาหร่าย (ศูนย์ฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจกลาง หนองสาหร่าย จ.นครราชสีมา) ที่ผ่านมาคนเลี้ยงลูกหลักคือเขา ลูกก็ติดป่าป๊า พอเขาไม่อยู่ 9 เดือน เราเหนื่อยมาก ช่วงนั้นย่า (แม่ของแฟน) ต้องมาช่วยเลี้ยงหลาน

ความรู้สึกของบรรดาเมียๆ เป็นยังไงกันบ้าง

ทุกคนโกรธ อยากทำอะไรสักอย่าง เคยคุยกันว่า ถ้ามีการนัดรวมพลจะออกมากัน อยากออกไปทวงผัวคืน เรายังโชคดีกับอีกหลายคนที่มีคนมาช่วยดูแล และยังมีงานทำ เคยบอกแฟนว่า “ลาออกมาเลย เดี๋ยวเลี้ยงเอง” (หัวเราะ) แต่เมียคนอื่นๆ ผัวคือเสาหลัก ไม่มีทางเลือกอื่น ลาออกไม่ได้แน่นอน

คิดถึงขั้นว่าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยไหม

คิด (ตอบทันที) บางคนบอกว่าเราคิดมาก ไม่นะ เราทำคดีการเมือง รู้ว่ามันโหด การเอาชีวิตใครสักคนไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าจะเอาก็ต้องเลือกหัวโจก ซึ่งตอนนั้นหัวโจกคือแฟนเรา

เวลาผ่านไปนานไหมถึงได้เข้าไปเยี่ยม

เขาอยู่หนองสาหร่ายสัก 1-2 เดือน ก็ให้เยี่ยมได้ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เก้าโมง – บ่ายสอง พอช่วงมีโควิดก็ห้ามเยี่ยมไป เราไปเยี่ยมตลอด ขับรถไปตั้งแต่วันเสาร์แล้วพักโรงแรมแถวนั้น เพื่อรีบไปเยี่ยมตอนเช้า หรือบางครั้งก็ออกจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์

เวลาขับรถออกจากกรุงเทพฯ ไปหนองสาหร่าย เช็กอินโรงแรม เดินทางไปเยี่ยม คุณอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองยังไง

(เงียบคิด) เรารู้สึกอยู่ตลอดว่า ทำไมต้องมาทำอะไรแบบนี้ด้วย เสียดายเวลา เสียดายบุคลากร ในสายงานสอบสวนสืบสวน ทุกคนชื่นชมว่าเขาเป็นพนักงานที่ดี คนในกลุ่มนั้นเก่งๆ หลายคน ช่วงนั้นพวกเขาต้องตื่นมาถอนหญ้าข้างทาง ขุดต้นไม้ หั่นต้นไม้ ทำอะไรไร้สาระไปเรื่อย ตอนหลังถึงเริ่มมีหลักสูตรการฝึก ขี่มอเตอร์ไซค์ ดำน้ำ ฝึกเยอะมาก ถ้ามองในมุมกฎหมาย เขาคงมองว่าเอาคนพวกนี้มาแล้วไม่มีอะไรรองรับ ก็ต้องหาการฝึกมารองรับ

เป้าหมายในการธำรงวินัยคือการทำให้เข็ดหลาบแค่นั้น

ใช่ เคยมีบางคนพูดว่า “ถ้าไม่ทำอะไรกับคนกลุ่มนี้ เดี๋ยวก็เป็นเยี่ยงอย่างให้คนกลุ่มอื่น”

บรรยากาศในการเยี่ยมเป็นยังไงบ้าง

พอเรานั่งตรงข้ามกัน ก็มีคนมาถ่ายรูปไปส่งนาย ถ่ายเสร็จแล้วบอกว่า “โอเคครับ นั่งคุยได้” ถ้าเจอคนดีๆ ก็ดีไป แต่ช่วงเดือนท้ายๆ มีการเปลี่ยนคนคุม คนนั้นจะกร่างๆ หน่อย มาถึงก็ขอยึดมือถือของญาติ แต่เราไม่ให้ยึด ตอบกลับไปว่า “คุณเอากฎหมายอะไรมายึด เขาไม่ใช่นักโทษ พวกเขามาฝึก ตอนนี้คือเวลาเยี่ยมญาติ” คนนั้นโกรธมาก หน้าแดงเลย พูดกลับว่า “ยังอยากจะเยี่ยมอยู่ไหม ถ้าเรื่องเยอะก็ไม่ต้องเยี่ยม” เราบอกว่า “การเยี่ยมเป็นสิทธิ” แล้วยืนยันว่าไม่ให้ยึด เจ้าหน้าที่คนนั้นไปดุแม่ของตำรวจคนหนึ่งด้วย “เอามือถือมานี่!” ตอนแรกเขาตกใจ แล้วหันมามองเรา พอเห็นว่าเราเถียง เขาตะโกนด่าเลย “ไอ้เหี้ย นี่ลูกกู มึงไม่มีลูกไม่มีเมียหรือไง!” ยืนชี้หน้าด่าเลย เราต้องบอกว่า “ใจเย็นค่ะ เดี๋ยวจัดการให้”

ตอนนั้นคนคุมพูดว่า “โอเค เดี๋ยวเห็นดีกัน” เขาสั่งให้คนมาเยี่ยมทั้งหมดไปรวมแถว แล้วพูดดังๆ ให้เราได้ยินว่า “เนื่องจากมีญาติคนนึงเรื่องเยอะ งั้นวันนี้งดเยี่ยมญาติ เปลี่ยนสภาพไปฝึก” แม่แฟน ลูก และเพื่อนแฟนก็อยู่ตรงนั้น เราคิดในใจว่า แฟนต้องด่าเราแน่เลย แต่แฟนเรากลับพูดว่า “กูไม่ฝึก!” เรารู้สึกดีมากเลย เพราะทุกทีต้องโดนหาว่าพวกชอบอ้างสิทธิแล้ว (หัวเราะ) ตำรวจคนอื่นๆ ตรงนั้นก็บอกว่า “ถ้าพี่ไม่ฝึก พวกผมก็ไม่ไป” สุดท้ายคนคุมก็หน้าแห้งแล้วขับมอเตอร์ไซค์ออกไปเลย

คนไปเยี่ยมเยอะไหม

ทั้งหมดที่ไปเยี่ยมไม่เกิน 5 ครอบครัว จากทั้งหมด 97 คนจะมีนักเรียนนายร้อย 10 กว่าคน ที่เหลือก็ยศอื่นๆ มาจากหลายจังหวัด มันไม่ใช่ทุกคนที่มีกำลังมีเวลาไปเยี่ยมได้ บางคนเมียเพิ่งคลอดลูก ลูกเกิดมาแล้วไม่ได้เจอหน้าพ่อ บางคนแม่ป่วย ก็ไม่ได้ดูแล หรือบางคนพ่อติดเตียง ก็ต้องหาคนมาดูแล อีกอย่างพอมาฝึกแบบนี้ เงินที่ได้ในแต่ละเดือนก็ลดลง

ถ้าการธำรงวินัยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในฐานะนักกฎหมาย เราได้ทำอะไรในกลไกปกติได้ไหม

ถ้าใครเป็นเพื่อนเราในเฟซบุ๊ก ช่วงนั้นเราโพสต์ถึงเหตุการณ์นี้เยอะ โพสต์ทีก็มีคนเอาไปฟ้องนาย นายก็บอกผ่านแฟนให้มาบอกเราลบโพสต์ ช่วงนั้นมีแต่คนบอกให้เราเงียบ ทุกคนบอกว่า ถ้าพูดอะไรเยอะ เขาจะเป็นอันตราย เราก็ใช้วิธีการโพสต์โดยคนไม่รู้ว่าเรื่องอะไร คนอ่านก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องโดนเตะตำแหน่ง พอโรมอภิปรายในสภา คนทักมาเยอะเลยว่า “รู้แล้วว่าทำไมช่วงนั้นถึงเครียด” ถ้านอกจากการสื่อสาร ก็มีเรื่องฟ้องคดี แต่มันต้องมีผู้เสียหาย มีวัตถุแห่งคดีในการฟ้อง ก็ต้องเป็นตัวเขา พอเขาออกมาก็ทำไม่ได้แล้ว เพราะมันจบไปแล้ว

การทำอะไรไม่ได้แบบนี้ ความรู้สึกในแต่ละวันเป็นยังไง

เครียด ตลอดชีวิตของเราตั้งแต่เกิดยันโต เราวางแผนชีวิตตัวเองได้ตลอด ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ไม่เคยมีปัญหาเลย แต่พอเจอเรื่องนี้ เราคอนโทรลชีวิตไม่ได้จนต้องไปหาจิตแพทย์ เราเครียดเพราะเคยคอนโทรลชีวิตได้ พอคอนโทรลไม่ได้ก็เครียด จิตแพทย์เลยให้คำปรึกษาว่า “คิดสั้นๆ พอ วันนี้จะทำอะไร พรุ่งนี้จะทำอะไร วันอาทิตย์จะได้เจอแฟนแล้ว กลับมาทำงาน 5 วันแล้วไปเจอแฟนอีกครั้ง” พอคิดแบบนั้นได้ก็ดีขึ้น แฟนก็พยายามมองบวกว่า ตอนนี้มาฝึก ได้ความรู้ใหม่ๆ เราทั้งสองคนต้องคิดบวก เพราะถ้าคิดลบก็แย่ทั้งคู่ แล้วทะเลาะกัน แค่นี้ก็แย่พอแล้ว อย่าทะเลาะกันอีกเลย

วันแรกๆ ที่แฟนออกมา ชีวิตเป็นยังไงบ้าง

เขาออกมาเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 เราโล่งที่ได้อยู่ด้วยกันสักที เขาก็อยากกลับไปทำงานแล้ว บางคนก็มองเขาว่า อ๋อ ตำรวจที่ไม่จงรักภักดี ชื่อเสียงดังในเรื่องนี้ไปเลย แต่เขาไม่สนใจคำพูดพวกนั้น เราสองคนอยากทำอะไรสักอย่าง แต่หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเราก็เส้นเลือดในสมองแตก ต้องดูแลพ่อที่ติดเตียงอยู่หลายเดือน ตอนนี้หายเป็นปกติแล้ว ช่วงนั้นเลยไม่มีเวลาได้เครียดเรื่องอื่นเลย

สิ่งที่เราเห็นคือ เขาทำงานไปตามหน้าที่ของตัวเอง รับผิดชอบตามปกติ แต่ไม่ทุ่มเทจนลืมให้เวลากับครอบครัว ช่วงเวลา 9 เดือนนั้น เขาคิดได้เยอะมาก เขาเคยทุ่มเทให้งานโดยไม่ได้มองครอบครัว แต่วันที่มีปัญหาจริงๆ คนที่รับเคราะห์ที่สุดคือเมีย ลูก และแม่ของตัวเอง ตอนนี้เขาทำธุรกิจไปด้วย ถ้าเกิดอะไรขึ้นอีกครั้ง เขาคงออกจากงานจริงๆ แล้ว

คุณอยากบอกอะไรกับผู้บังคับบัญชาที่ออกคำสั่งนี้

เราอยากเจอตัวพวกเขา อยากคุยด้วยว่า รู้ไหมว่าสิ่งที่คุณทำมันทำร้ายครอบครัวของตำรวจขนาดไหน และมันทำร้ายตำรวจที่เคยรักในอาชีพนี้ ทำร้ายบุคลากรของตัวเอง มันคือการทำลายจิตวิญญาณของคนเลย หลายคนกลายเป็นคนอยู่เป็น คนที่อยู่ด้วยจิตวิญญาณ ตั้งใจทำงานจริงๆ มันแทบไม่มีแล้ว เรากำลังทำเรื่องลดน้ำหนัก ก็ชวนคนรอบตัวมาลดน้ำหนัก พอชวนตำรวจ มันกลายเป็นเรื่องตลกที่บางคนพูดว่า “ไม่ลดน้ำหนักหรอก เดี๋ยวโดนคัดตัว” ถ้าหุ่นดีแล้วโดน งั้นก็มีพุงไปเลย ไม่อยากทำงานให้ดี ถ้าเด่นมากเดี๋ยวโดนคัดตัว

หลังจาก รังสิมันต์ โรม อภิปรายในสภาและนอกสภาได้ไม่นาน คุณตั้งสเตตัสเฟซบุ๊กว่า สามีของเราคือ 1 ใน 97 คนนั้น เรื่องจบไปหลายเดือนแล้ว อยู่เงียบๆ ก็ปลอดภัย คุณมูฟออนไปทำอย่างอื่นไม่ดีกว่าเหรอ

หลังจากโรมออกมาพูด ต้องมีคนออกมาพูดว่า “เฟกนิวส์หรือเปล่า” “คิดไปเองหรือเปล่า” เราเลยอยากซัพพอร์ตว่า สิ่งที่โรมพูดคือเรื่องจริง แล้วในโพสต์ของเรื่องนี้ ก็มีบรรดาเมียๆ มาคอมเมนต์เต็มเลย ทุกคนที่คิดถึงเรื่องนี้แค้นกันหมด เมียๆ โกรธแรงกว่าผัวนะ ถ้ารวมพลังกันน่ากลัวกว่าอีก (หัวเราะ)

สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ฮือฮาแค่ช่วงสั้นๆ แล้วเงียบหายไปหรือเปล่า

เรามีคิดว่าอาจเป็นแบบนั้น

ในฐานะเมียตำรวจ ทนายความ และคนที่ทำคดีการเมืองมาหลายปี ถ้าไม่อยากให้เรื่องนี้เงียบหายควรทำยังไง

(เงียบคิด) เราอยากให้ 97 คนออกมาพูด ทุกคนเป็นห่วงโรมว่าจะโดนฟ้องคดี ถ้าโดนจริงๆ พวกเขาก็พร้อมไปเป็นพยานให้

ใครจะอยากออกมาพูด เหนื่อยมาแล้ว เจ็บปวดมาแล้ว อยู่เฉยๆ สบายกว่า

เราอยู่ใน Clubhouse มาหลายวัน ไม่คิดว่าจะมีคนออกมาพูดเยอะขนาดนี้ ลูกตำรวจ เมียตำรวจ พ่อแม่ตำรวจ พวกเขาเจออะไรบ้าง ลูกเล่าว่า พ่อเป็นตำรวจ เพิ่งออกจากเรือนจำ เพราะไปขัดขาผู้มีอำนาจเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เมียเล่าว่า ผัวจะฆ่าตัวตายเพราะเรื่องตำแหน่ง ฯลฯ

เวลาใครยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมา มักมีคำพูดใหญ่ๆ เช่น ต้องแก้ปัญหาในเชิงระบบ ต้องปฏิรูปตำรวจ คุณมองยังไง

เราพูดคำเหล่านี้กับแฟนประจำ เขาก็บอกว่า ถ้าคนรุ่นเก่าตายหรือหมดอำนาจ เดี๋ยวคนรุ่นใหม่จะมาแทน หลายคนมีความคิดคนละแบบกับรุ่นเก่า

เห็นด้วยไหม

ตอนแรกเราไม่เห็นด้วย ต้องพูดตอนนี้สิ แต่พอเรื่องมาตรา 112 ที่อยู่ๆ คนก็พูดกันมาก เราทำคดีนี้มาหลายปี เมื่อก่อนพูดอะไรไม่ได้เลย กลัวไปหมดเลย แต่อยู่ดีๆ ก็พูดกัน เวลาเกิดการเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนเร็วจริงๆ เราเลยพยายามมองว่า วันหนึ่งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ในเรื่องตำรวจหรือเรื่องอื่นๆ ก็ได้

ถ้าคนรุ่นใหม่ความคิดดีๆ มาเป็นตำรวจ แต่เจอแรงเสียดทาน อาจถูกกลืน อาจถูกเด้ง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นยังไง

(เงียบคิด) เราว่าสุดท้ายมันคือปัญหาการเมืองเลย ยุคนี้ตำรวจเป็นตำรวจที่อิงกับการเมืองเป็นหลัก การเมืองไปทางไหนก็ไปทางนั้น ตำรวจตอนนี้อ้างอิงกับประยุทธ์ (จันทร์โอชา) ประวิตร (วงษ์สุวรรณ) ไม่ได้อิสระ ถ้าการเมืองเปลี่ยนได้ ตำรวจก็มีโอกาสเปลี่ยนได้

Proofread by Pongpiphat Banchanont
Photo by Watcharapol Saisongkhroh
Illustration by Waragorn Keeranan

Thieves’s Legal Servicemen

Thieves’s Legal Servicemen

*..เนติบริกรโจรลอดช่อง(สามารถลอดช่องใหญ่เท่าช้างจนถึงตัวช้างสามารถลอดรูเข็มเย็บปากกระสอบป่านได้..”หัวหน้าโจรคสช.จึงไม่ใช่เจ้าหน้ารัฐในบางเวลาและเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในบางเวลา”..นักร้องและเนติบริกรโจรจึงเต็มกะลาฯ..”ลูกปูขาเกเดินตามแม่ปู”)​..”เป็นเสมือนเทวดาด้านเนติบริกรนิติสัตว์​ มักศักดิ์สิทธิ์​และมีผลผูกพันทุกองค์กรเสมอ”..เรียกว่า..”ขบวนการตุลาโกงตุลาการกะลาแลนด์นับตังแต่ชั้นตำรวจ-อัยการ​-ศาลฎีกาสูงสุดภายใต้อำนาจมืดเหนือรัฐล้วนเป็นลูกระนาดผืนเดียวกันอย่างแนบแน่น”..โดยเฉพาะ..”คดีการเมืองและคดีความมั่นคง”..กระบวนการตุลาโกงตุลาการกะลาแลนด์จึงพังพินาศอย่างสิ้นเชิง..*

“..สลิ่มบัวใต้โคลนตมอยากกินลอดช่องกะลาฯ.. “27..2..21

Voice Of Police’s Spouse

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 25, 2564

“รู้ไหมว่ามันทำร้ายครอบครัวเราแค่ไหน” เสียงจากคนรักของตำรวจที่ถูกสั่งให้ไปธำรงวินัย

https://thaienews.blogspot.com/2021/02/blog-post_406.html

‘ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์’ หรือ ‘ทนายแจม’ เป็นทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หากใครติดตามข่าวการเมืองอยู่บ้าง หลายปีที่ผ่านมาคงคุ้นเคยกับภาพที่เธอให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อคดีการเมืองต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว ขณะเดียวกัน เธอยังเป็นแม่ของลูก 2 คน และเป็นภรรยาของนายตำรวจด้วย

ทุกอย่างควรดำเนินไปตามปกติ ฝ่ายชายทุ่มเทกับอาชีพตำรวจ ฝ่ายหญิงทุ่มเทกับอาชีพทนายความ เมื่อเลิกทำงานก็ต่างมาทุ่มเทให้ลูก 2 คนในบทบาทพ่อและแม่ จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ.2562 มีหนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ ความว่า “ด้วยกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ จะดำเนินการคัดเลือกนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มาบรรจุลงในกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904”

ตำรวจ 1,319 นายจากหลายหน่วยงานคือผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ในจำนวนนั้นตำรวจ 66 นายแจ้งว่าติดปัญหาส่วนตัว พวกเขาถูกส่งตัวไปปรับทัศนคติ การคัดเลือกกึ่งบังคับทำให้ตำรวจหลายนายตัดสินใจลาออก ขั้นตอนดำเนินไปเรื่อยๆ จนได้ตำรวจ 873 นายที่เตรียมไปฝึกเป็นตำรวจราบในพระองค์

เมื่อถึงขั้นตอนที่ต้องเลือกอย่างเลี่ยงไม่ได้ สามีของทนายแจมคือ 1 ใน 100 คนที่ตัดสินใจว่า ไม่ไปและไม่ลาออก (ก่อนหน้านั้นเขาเคยลาออกแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ) แม้จะอธิบายเหตุผลแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีคำสั่งฝึกธำรงวินัยออกมา ตำรวจ 3 นายตัดสินใจลาออกทันที

นั่นหมายความว่า ตำรวจ 97 นายต้องเข้าสู่การฝึกธำรงวินัยเป็นระยะเวลา 9 เดือน

คนรักไม่ได้เจอกัน 9 เดือนว่าเนิ่นนานแล้ว แต่นี่คือคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามีของเธอต้องฝึกหนักฝึกโหดอย่างไร้เหตุผล ช่วงเวลานั้นเธอเครียดอย่างที่สุด เฝ้ารอวันที่พ่อ แม่ และลูกสองคนจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา แม้ว่าปัจจุบันเขาจะได้กลับมาทำงานเป็นตำรวจเช่นเดิมแล้ว แต่ความทรงจำนั้นยังเป็นบาดแผลที่ฝังลึกในใจของเธอมาตลอด

ตอนมีคำสั่งแรกออกมา คิดไหมว่าจะมาถึงขั้นนี้

ไม่คิด การธำรงวินัยมีในวงการทหารมาตลอด แต่วงการตำรวจไม่เคยมี

ตอนนั้นคุณมองว่า ‘ธำรงวินัย’ คืออะไร

มันคือการทำโทษนั่นแหละ เอาไปกักตัว ไม่ให้เจอใคร ข่าวออกมาว่า คนพวกนี้สมัครใจ หน่วยงานสวัสดิการดีมาก ถ้ามันดีก็เปิดรับสมัครสิ ทำไมต้องบังคับ ถ้าจะบอกว่าหน่วยงานนั้นรับใช้สถาบันฯ เป็นตำรวจก็ช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ท่านไง ไม่ต้องรับใช้พระองค์ท่านเสมอไป

ทำไมการปฏิเสธย้ายหน่วยงานด้วยเหตุผลถึงต้องโดนทำโทษ ผู้บังคับบัญชาเคยบอกเหตุผลไหม

เขาเคยบอกนะ แต่เราจำไม่ได้แล้ว (เงียบคิด) แต่ที่แน่ๆ เวลาบอกว่า เราคือแฟนของตำรวจคนนี้ ตำรวจปากไม่ดีบางคนจะพูดกันว่า “พวกไม่จงรักภักดี” เราชอบที่แฟนบอกว่า “การแสดงความจงรักภักดีทำได้หลายแบบ ถ้ารัชกาลที่ 9 เคยดูแลประชาชนของพระองค์ท่าน การเป็นตำรวจแล้วได้ดูแลประชาชน ก็คือการทำงานถวาย ไม่ต้องถวายตัวดูแลใกล้ชิดเสมอไป

เหตุผลที่แฟนบอกว่า ยอมโดน 9 เดือนได้จบๆ ไป ตอนนั้นคุณเห็นด้วยไหม

ไม่ค่อย เราอยากให้ลาออกเลย เวลา 9 เดือนมันนานนะ เอามาทำอะไรได้ตั้งเยอะ เราอยากให้เขาได้อยู่กับลูก มันคือวัยที่ลูกน่ารักที่สุด ได้เห็นลูกคลาน เดินได้ครั้งแรก พูดได้ครั้งแรก (เงียบ น้ำตาไหล) เขาไม่ได้เห็นลูกเดินได้ครั้งแรก คำแรกที่ลูกพูดได้คือ “ป่าป๊า” แต่เขาไม่ได้อยู่ตรงนั้น ลูกถามหาป่าป๊าตลอด ช่วงที่เขาเปิดให้เยี่ยมได้ เราพาลูกไปเยี่ยม พอบ่ายสองต้องกลับ ลูกร้องไห้ลงกับพื้นดิน ถามเราว่า “หม่ามี้ ทำไมป่าป๊าไม่ได้กลับ” เราต้องบอกไปว่า “ป่าป๊ามาทำงาน เดี๋ยวก็ได้กลับแล้ว”

ปลายปี พ.ศ.2562 เดือนแรกเขาไปฝึกที่ จ.ยะลา เราติดต่อไม่ได้เลย รูปสุดท้ายที่ส่งมาคือกำลังจะขึ้นเครื่องบิน แล้วก็โดนยึดมือถือ ช่วงนั้นเราร้องไห้เกือบทุกคืน เป็นห่วง กลัวมาก หลังจากนั้นถึงรู้ว่าเป็นช่วงทำโทษหนักมาก ไม่ให้อาบน้ำ เข้าไปอยู่ในป่า เข้าพื้นที่สีแดงตลอด เป็นการกดดันให้ใครไม่ไหวก็กลับไปอยู่หน่วยนั้น แต่มันไม่ได้ผลหรอก คนยิ่งโกรธยิ่งเกลียด หลังจากนั้นอีก 8 เดือนก็มาอยู่ที่หนองสาหร่าย (ศูนย์ฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจกลาง หนองสาหร่าย จ.นครราชสีมา) ที่ผ่านมาคนเลี้ยงลูกหลักคือเขา ลูกก็ติดป่าป๊า พอเขาไม่อยู่ 9 เดือน เราเหนื่อยมาก ช่วงนั้นย่า (แม่ของแฟน) ต้องมาช่วยเลี้ยงหลาน

ความรู้สึกของบรรดาเมียๆ เป็นยังไงกันบ้าง

ทุกคนโกรธ อยากทำอะไรสักอย่าง เคยคุยกันว่า ถ้ามีการนัดรวมพลจะออกมากัน อยากออกไปทวงผัวคืน เรายังโชคดีกับอีกหลายคนที่มีคนมาช่วยดูแล และยังมีงานทำ เคยบอกแฟนว่า “ลาออกมาเลย เดี๋ยวเลี้ยงเอง” (หัวเราะ) แต่เมียคนอื่นๆ ผัวคือเสาหลัก ไม่มีทางเลือกอื่น ลาออกไม่ได้แน่นอน

คิดถึงขั้นว่าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยไหม

คิด (ตอบทันที) บางคนบอกว่าเราคิดมาก ไม่นะ เราทำคดีการเมือง รู้ว่ามันโหด การเอาชีวิตใครสักคนไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าจะเอาก็ต้องเลือกหัวโจก ซึ่งตอนนั้นหัวโจกคือแฟนเรา

เวลาผ่านไปนานไหมถึงได้เข้าไปเยี่ยม

เขาอยู่หนองสาหร่ายสัก 1-2 เดือน ก็ให้เยี่ยมได้ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เก้าโมง – บ่ายสอง พอช่วงมีโควิดก็ห้ามเยี่ยมไป เราไปเยี่ยมตลอด ขับรถไปตั้งแต่วันเสาร์แล้วพักโรงแรมแถวนั้น เพื่อรีบไปเยี่ยมตอนเช้า หรือบางครั้งก็ออกจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์

เวลาขับรถออกจากกรุงเทพฯ ไปหนองสาหร่าย เช็กอินโรงแรม เดินทางไปเยี่ยม คุณอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองยังไง

(เงียบคิด) เรารู้สึกอยู่ตลอดว่า ทำไมต้องมาทำอะไรแบบนี้ด้วย เสียดายเวลา เสียดายบุคลากร ในสายงานสอบสวนสืบสวน ทุกคนชื่นชมว่าเขาเป็นพนักงานที่ดี คนในกลุ่มนั้นเก่งๆ หลายคน ช่วงนั้นพวกเขาต้องตื่นมาถอนหญ้าข้างทาง ขุดต้นไม้ หั่นต้นไม้ ทำอะไรไร้สาระไปเรื่อย ตอนหลังถึงเริ่มมีหลักสูตรการฝึก ขี่มอเตอร์ไซค์ ดำน้ำ ฝึกเยอะมาก ถ้ามองในมุมกฎหมาย เขาคงมองว่าเอาคนพวกนี้มาแล้วไม่มีอะไรรองรับ ก็ต้องหาการฝึกมารองรับ

เป้าหมายในการธำรงวินัยคือการทำให้เข็ดหลาบแค่นั้น

ใช่ เคยมีบางคนพูดว่า “ถ้าไม่ทำอะไรกับคนกลุ่มนี้ เดี๋ยวก็เป็นเยี่ยงอย่างให้คนกลุ่มอื่น”

บรรยากาศในการเยี่ยมเป็นยังไงบ้าง

พอเรานั่งตรงข้ามกัน ก็มีคนมาถ่ายรูปไปส่งนาย ถ่ายเสร็จแล้วบอกว่า “โอเคครับ นั่งคุยได้” ถ้าเจอคนดีๆ ก็ดีไป แต่ช่วงเดือนท้ายๆ มีการเปลี่ยนคนคุม คนนั้นจะกร่างๆ หน่อย มาถึงก็ขอยึดมือถือของญาติ แต่เราไม่ให้ยึด ตอบกลับไปว่า “คุณเอากฎหมายอะไรมายึด เขาไม่ใช่นักโทษ พวกเขามาฝึก ตอนนี้คือเวลาเยี่ยมญาติ” คนนั้นโกรธมาก หน้าแดงเลย พูดกลับว่า “ยังอยากจะเยี่ยมอยู่ไหม ถ้าเรื่องเยอะก็ไม่ต้องเยี่ยม” เราบอกว่า “การเยี่ยมเป็นสิทธิ” แล้วยืนยันว่าไม่ให้ยึด เจ้าหน้าที่คนนั้นไปดุแม่ของตำรวจคนหนึ่งด้วย “เอามือถือมานี่!” ตอนแรกเขาตกใจ แล้วหันมามองเรา พอเห็นว่าเราเถียง เขาตะโกนด่าเลย “ไอ้เหี้ย นี่ลูกกู มึงไม่มีลูกไม่มีเมียหรือไง!” ยืนชี้หน้าด่าเลย เราต้องบอกว่า “ใจเย็นค่ะ เดี๋ยวจัดการให้”

ตอนนั้นคนคุมพูดว่า “โอเค เดี๋ยวเห็นดีกัน” เขาสั่งให้คนมาเยี่ยมทั้งหมดไปรวมแถว แล้วพูดดังๆ ให้เราได้ยินว่า “เนื่องจากมีญาติคนนึงเรื่องเยอะ งั้นวันนี้งดเยี่ยมญาติ เปลี่ยนสภาพไปฝึก” แม่แฟน ลูก และเพื่อนแฟนก็อยู่ตรงนั้น เราคิดในใจว่า แฟนต้องด่าเราแน่เลย แต่แฟนเรากลับพูดว่า “กูไม่ฝึก!” เรารู้สึกดีมากเลย เพราะทุกทีต้องโดนหาว่าพวกชอบอ้างสิทธิแล้ว (หัวเราะ) ตำรวจคนอื่นๆ ตรงนั้นก็บอกว่า “ถ้าพี่ไม่ฝึก พวกผมก็ไม่ไป” สุดท้ายคนคุมก็หน้าแห้งแล้วขับมอเตอร์ไซค์ออกไปเลย

ถ้าการธำรงวินัยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในฐานะนักกฎหมาย เราได้ทำอะไรในกลไกปกติได้ไหม

ถ้าใครเป็นเพื่อนเราในเฟซบุ๊ก ช่วงนั้นเราโพสต์ถึงเหตุการณ์นี้เยอะ โพสต์ทีก็มีคนเอาไปฟ้องนาย นายก็บอกผ่านแฟนให้มาบอกเราลบโพสต์ ช่วงนั้นมีแต่คนบอกให้เราเงียบ ทุกคนบอกว่า ถ้าพูดอะไรเยอะ เขาจะเป็นอันตราย เราก็ใช้วิธีการโพสต์โดยคนไม่รู้ว่าเรื่องอะไร คนอ่านก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องโดนเตะตำแหน่ง พอโรมอภิปรายในสภา คนทักมาเยอะเลยว่า “รู้แล้วว่าทำไมช่วงนั้นถึงเครียด” ถ้านอกจากการสื่อสาร ก็มีเรื่องฟ้องคดี แต่มันต้องมีผู้เสียหาย มีวัตถุแห่งคดีในการฟ้อง ก็ต้องเป็นตัวเขา พอเขาออกมาก็ทำไม่ได้แล้ว เพราะมันจบไปแล้ว

การทำอะไรไม่ได้แบบนี้ ความรู้สึกในแต่ละวันเป็นยังไง

เครียด ตลอดชีวิตของเราตั้งแต่เกิดยันโต เราวางแผนชีวิตตัวเองได้ตลอด ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ไม่เคยมีปัญหาเลย แต่พอเจอเรื่องนี้ เราคอนโทรลชีวิตไม่ได้จนต้องไปหาจิตแพทย์ เราเครียดเพราะเคยคอนโทรลชีวิตได้ พอคอนโทรลไม่ได้ก็เครียด จิตแพทย์เลยให้คำปรึกษาว่า “คิดสั้นๆ พอ วันนี้จะทำอะไร พรุ่งนี้จะทำอะไร วันอาทิตย์จะได้เจอแฟนแล้ว กลับมาทำงาน 5 วันแล้วไปเจอแฟนอีกครั้ง” พอคิดแบบนั้นได้ก็ดีขึ้น แฟนก็พยายามมองบวกว่า ตอนนี้มาฝึก ได้ความรู้ใหม่ๆ เราทั้งสองคนต้องคิดบวก เพราะถ้าคิดลบก็แย่ทั้งคู่ แล้วทะเลาะกัน แค่นี้ก็แย่พอแล้ว อย่าทะเลาะกันอีกเลย

วันแรกๆ ที่แฟนออกมา ชีวิตเป็นยังไงบ้าง

เขาออกมาเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 เราโล่งที่ได้อยู่ด้วยกันสักที เขาก็อยากกลับไปทำงานแล้ว บางคนก็มองเขาว่า อ๋อ ตำรวจที่ไม่จงรักภักดี ชื่อเสียงดังในเรื่องนี้ไปเลย แต่เขาไม่สนใจคำพูดพวกนั้น เราสองคนอยากทำอะไรสักอย่าง แต่หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเราก็เส้นเลือดในสมองแตก ต้องดูแลพ่อที่ติดเตียงอยู่หลายเดือน ตอนนี้หายเป็นปกติแล้ว ช่วงนั้นเลยไม่มีเวลาได้เครียดเรื่องอื่นเลย

สิ่งที่เราเห็นคือ เขาทำงานไปตามหน้าที่ของตัวเอง รับผิดชอบตามปกติ แต่ไม่ทุ่มเทจนลืมให้เวลากับครอบครัว ช่วงเวลา 9 เดือนนั้น เขาคิดได้เยอะมาก เขาเคยทุ่มเทให้งานโดยไม่ได้มองครอบครัว แต่วันที่มีปัญหาจริงๆ คนที่รับเคราะห์ที่สุดคือเมีย ลูก และแม่ของตัวเอง ตอนนี้เขาทำธุรกิจไปด้วย ถ้าเกิดอะไรขึ้นอีกครั้ง เขาคงออกจากงานจริงๆ แล้ว

คุณอยากบอกอะไรกับผู้บังคับบัญชาที่ออกคำสั่งนี้

เราอยากเจอตัวพวกเขา อยากคุยด้วยว่า รู้ไหมว่าสิ่งที่คุณทำมันทำร้ายครอบครัวของตำรวจขนาดไหน และมันทำร้ายตำรวจที่เคยรักในอาชีพนี้ ทำร้ายบุคลากรของตัวเอง มันคือการทำลายจิตวิญญาณของคนเลย หลายคนกลายเป็นคนอยู่เป็น คนที่อยู่ด้วยจิตวิญญาณ ตั้งใจทำงานจริงๆ มันแทบไม่มีแล้ว เรากำลังทำเรื่องลดน้ำหนัก ก็ชวนคนรอบตัวมาลดน้ำหนัก พอชวนตำรวจ มันกลายเป็นเรื่องตลกที่บางคนพูดว่า “ไม่ลดน้ำหนักหรอก เดี๋ยวโดนคัดตัว” ถ้าหุ่นดีแล้วโดน งั้นก็มีพุงไปเลย ไม่อยากทำงานให้ดี ถ้าเด่นมากเดี๋ยวโดนคัดตัว

ในฐานะเมียตำรวจ ทนายความ และคนที่ทำคดีการเมืองมาหลายปี ถ้าไม่อยากให้เรื่องนี้เงียบหายควรทำยังไง

(เงียบคิด) เราอยากให้ 97 คนออกมาพูด ทุกคนเป็นห่วงโรมว่าจะโดนฟ้องคดี ถ้าโดนจริงๆ พวกเขาก็พร้อมไปเป็นพยานให้

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มที่
https://thematter.co/social/what-happens-in-royal-thai-police/136416

Why Thai Electric Bill More Expensive Than Singapore

สรุปรวบยอด จาก ค่าไฟแพง ใน #อภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นเพราะประยุทธ์แจกสัมปทานฟรีให้กลุ่มทุน จนทำให้ไทยมีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็น!!!!
รู้หรือไม่? คนไทยเสียค่าไฟแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน…  เราเสียหน่วยละ 3.8 บาท (เวียดนาม3.4บาท / มาเลเซีย 1.96 บาท)
เรื่องเริ่มมาจาก- ประยุทธ์หัวหมอ พอยึดอำนาจใหม่ๆ รีบแต่งตั้วตัวเองเข้าไปนั่งในตำแหน่งประธานกลุ่มต่างๆที่จะดูเรื่องพลังงาน/ไฟฟ้าได้ เช่น แต่งตั้วตัวเองเป็นประธานกลุ่มส่งเสริมการลงทุน(BOI), ตั้งตัวเองเป็นประธานเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC เพราะอยากคุมเรื่องพลังงานโดยเฉพาะ…
– จากนั้นพอได้ตำแหน่งแล้ว ประยุทธ์ก็ออกนโยบายเน้นแจกสัมปทานให้ เอกชนจนทำให้ไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น 👉🏼 ผลที่เกิดคือ ประเทศไทยผลิตไฟล้นเกินความจำเป็น ประชาชนเลยต้องแบกรับค่าไฟตรงนี้ (ไม่เกี่ยวว่าใครใช้ไฟน้อยใช้ไฟเยอะ เงินที่จ่ายเอามาอุดตรงนี้) 
– นายทุนที่ได้ดีลเยอะสุดกับรัฐบาลประยุทธ์คือ Gulf Energy ของเจ้าสัว สารัชถ์ (รวยหลักแสนล้านบาท) ได้ถือครองสัมปทานโรงไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์
– ภายใต้การนั่งหัวโต๊ะคุมเรื่องพลังงานไฟฟ้าของชาติ ประยุทธ์มีดีลมืด และใช้วิธีสกปรกมากมาย เช่น การยกสัมปานผลิตไฟฟ้าให้บางกลุ่มทุนโดยไม่ต้องประมูล ถือว่ายึดเอาทรัพยากรของประเทศมาทำมาหากินแบบสนุกตามใจชอบเลย ‼️ นี่แหละโจรปล้นชาติ
– สุดท้ายแล้ว  Gulf ก็ทอนเงินให้คืน 5 ล้านบาทด้วยการ บริจาคเข้ามูลนิธิป่ารอยต่อ ตรงนี้ประยุทธ์โง่แค่ไหน??? ให้นายทุนได้ไปหลักแสนล้าน พลังประชารัฐได้กลับมาแค่เศษเงิน ประยุทธ์-ประวิตรได้ไปแบบส่วนตัวเท่าไรไม่รู้ แต่ที่รู้ๆประชาชนไม่ได้สักบาทแถมเสียด้วย คือต้องจ่ายค่าไฟแพงไง 🙄🙄🙄🙄
– ที่สำคัญประเทศไทยค่าไฟแพงแบบนี้ ต่างชาติเขาก็ไม่อยากเข้ามาลงทุน ใครจะอยากมีโรงงานที่ค่าไฟรายเดือนแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน?? 
อ่านแบบละเอียด 4 ตอนข้อมูลยิบๆ ได้ที่เพจคณะก้าวไกล และ

จากคลิปที่ ส.ส. เบญจา อภิปราย https://youtu.be/gT7_NzyOmDg

เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล อภิปราย ทำไมคนไทยถึงจ่ายค่าไฟเเพงกว่าสิงคโปร์

Description Of Police Transfer

Description Of Police Transfer

คำอธิบาย (ขนาดย่อ) นำมาจาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=263690261929668&id=100106918288004

เปิดเอกสารราชเลขาฯ ให้โอนย้ายตำรวจหน่วยก้านดีเข้าหน่วย 904 มี 100 คนถูกซ่อมธำรงวินัย 9 เดือน – ดองตำแหน่ง เพียงเพราะ “ขัดคำสั่ง”.


อ่านเอกสารเต็มกรณีดังกล่าวได้ที่ https://tinyurl.com/transfer904


ถึงตรงนี้ชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์กับ พล.อ.ประวิตร ปล่อยปละละเลยให้กลุ่มบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดเบื้องสูงกลุ่มหนึ่ง เข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งตำรวจ หรือท่านอาจจะรับรู้อยู่แก่ใจก็เป็นได้ แต่นอกจากเรื่องนี้แล้ว พล.อ.ประยุทธ์กับ พล.อ.ประวิตรยังปล่อยให้คนกลุ่มเดียวกันมีอำนาจสั่งการผบ.ตร.ให้โอนย้ายตำรวจจำนวนมากไปอยู่ในหน่วยงานนอกสังกัดตร. อีกด้วย
.
เรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคม 2562 มีหนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ ลงนามโดย พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ส่งถึง ผบ.ตร. ความว่า “ด้วยกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ จะดำเนินการคัดเลือกนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มาบรรจุลงใน กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904” จึงขอให้ สตช. ดำเนินการต่างๆ ตามที่ระบุไว้
.
ปัญหาคือ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ เป็นบุคคลที่อยู่นอก สตช.
.
กองบัญชาการทหารมหาดเล็กฯ ที่ว่าจะมาดำเนินการคัดเลือกนายตำรวจ ก็เป็นส่วนราชการในพระองค์ มีผู้บัญชาการคือ พล.อ.จักรภพ ภูริเดช ไม่ได้เป็นหหน่วยงานที่อยู่ใน สตช.
.
แต่กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 เป็นหน่วยงานที่อยู่ใน สตช. อยู่ใต้สังกัดกองบัญชาการสอบสวนกลาง ผู้บังคับการในขณะนั้นก็คือ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ซึ่งเป็นน้องชายของ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ที่ทำหนังสือขึ้นมา
.
คำถามคือแล้วเหตุใด การคัดเลือกตำรวจไปบรรจุในหน่วยงานของ สตช. เอง ที่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ ผบ.ตร. หรือ ก.ตร. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์กับ พล.อ.ประวิตรนั่งอยู่ ต้องพิจารณากันเอง เหตุใดจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานภายนอกเข้ามาดำเนินการคัดเลือกให้ได้? เหตุใดจึงเป็นเรื่องที่คนนอกอย่าง พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์มาทำหนังสือในลักษณะสั่งการได้? ทำราวกับว่านี่คือพี่น้องเล่นขายของกัน?
.
แต่ถึงแม้ว่าจะงงๆ กันแบบนี้ สตช. แทนที่จะคัดค้านว่าไปไม่ใช่หน้าที่ของคนสั่ง ก็ยังไปรับลูกต่อ โดย พล.ต.ท.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ขณะนั้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. ปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร. ก็ได้สั่งการให้ตำรวจทุกหน่วยตรวจสอบกำลังพล แล้วส่งตัวไปคัดเลือก กำหนดคุณสมบัติว่าต้องมีบุคลิกภาพดี สูง 170 – 180 ซม. ขาไม่โก่ง ไม่ผอมกะหร่อง ไหล่ไม่เอียง ไม่สวมแว่นตา ไม่มีภาระทางครอบครัว ไม่มีภาระหนี้สิน โดยที่ก็ไม่ได้ชี้แจงเลยว่าจะคัดเลือกไปทำอะไร บอกแค่สั้นๆ ว่า “สำหรับปฏิบัติภารกิจที่ ตร.จะมอบหมาย”
.
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งจาก พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร. เช่นกัน สั่งว่าตำรวจคนไหนไม่เข้ารับการคัดเลือก ก็ให้ตรวจสอบหาสาเหตุ พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องชัดเจน แปลกนะถ้าตำรวจบางคนเขาจะสละสิทธิ ทำไมต้องไปทำประวัติเขาด้วย?
.
พอปลายเดือนมีนาคม เริ่มที่งงๆ อยู่แล้ว ก็เริ่มงงมากขึ้นไปอีก เมื่อ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ส่งหนังสือมาอีกฉบับเพื่อแจ้งวันคัดเลือกรอบที่ 2 แต่คราวนี้บอกว่าที่คัดเลือกมานี้ จะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งใน “หน่วยตำรวจมหาดเล็กฯ” ครับ ผมก็ชักไม่แน่ใจว่าเป็นหน่วยเดียวกันกับ “กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กฯ” ของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์หรือเปล่า? เพราะถ้าใช่แล้วทำไมไม่ใช้คำให้ตรงกันล่ะ? แล้วถ้าไม่ใช่ แล้วนี่มันคือหน่วยไหน?
.
แต่ สตช. ก็ยังจัดการคัดเลือกรอบที่ 2 ต่อในต้นเดือนเมษายน ในครั้งนั้น กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็ยังรับงานจัดหาวิทยากรจิตอาสา 904 มาคอยควบคุม และจัดระเบียบนายตำรวจที่ไปรายงานตัว ซึ่งวิทยากรเหล่านี้ก็มาจากโครงการที่ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์, พล.อ.จักรภพ และ พล.อ.ฐิติราช กลุ่มเดิมนี้คุมอยู่นั่นเอง
.
หลังคัดเลือกเสร็จ ก็มีหนังสือภายใน สตช. รายงาน ผบ.ตร. ว่าจะส่งตำรวจที่ผ่านทั้งหมด 1,319 นายไปฝึกต่อที่ศูนย์ฝึกตำรวจศาลายา แต่คราวนี้ระบุว่าจะให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็น “ข้าราชบริพาร” จากที่ยังเป็นตำรวจใน สตช. อยู่ๆ ก็จะกลายไปเป็นข้าราชการประเภทอื่นแล้วหรือไม่? อย่างไร? ก็ไม่รู้
.
เท่านั้นไม่พอ ยังมีการตรวจเช็คด้วยว่านายตำรวจที่ติดปัญหาส่วนตัว มีตำรวจ 66 นายที่กรรมการตรวจสอบชี้ว่า ขาดภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างที่ดีไม่ได้ เลยให้ส่งไป “ปรับทัศนคติ” โดย ผบ.ตร. ลงนามสั่งเรียบร้อย ก็ถ้าคำสั่งมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แบบนี้ มันผิดหรือครับที่ผู้ถูกสั่งเขาจะไม่พร้อม? อันที่จริงควรขอโทษพวกเขาด้วยซ้ำ แต่นี่ยังจะไปลงโทษอีก
.
มาถึงขนาดนี้ งงกันมา 3 รอบแล้ว สตช. ก็ยังเปิดศูนย์ฝึกศาลายาของตัวเองให้ดำเนินโครงการนี้ต่อไป จนได้ผู้ผ่านการฝึกทั้งหมด 873 คน
.
และในปลายเดือนกันยายน ก็มีหนังสือภายใน สตช. คราวนี้รายงานว่าจะส่งผู้ผ่านการฝึกไป “ช่วยราชการ” ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยในพระองค์ ในหลักสูตร “ตำรวจราบในพระองค์” เรียกได้ว่าคัดแล้วคัดอีก ฝึกแล้วฝึกอีก
.
ถึงตรงนี้ งงพอหรือยัง? ตลอดเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา มีคนที่ไม่ใช่ตำรวจมาสั่งให้ สตช. เอาคนของตัวเองไปอยู่ตรงนั้นตรงนี้ วันก่อนสั่งมาอย่างหนึ่ง พอวันหลังก็เปลี่ยนใจไปสั่งอีกอย่าง ไปๆ มาๆ จะจับไปอยู่นอกวงการตำรวจกันหน้าตาเฉย โดยที่ระดับบนๆ ของ สตช. ก็รับลูกตามทุกอย่าง ไม่หือไม่อือเลยแม้แต่น้อย สร้างความสับสนให้กับผู้ใต้บังคับบัญชานับพันนาย
.
และเรื่องแบบนี้ พล.อ.ประยุทธ์กับ พล.อ.ประวิตรที่คุมตำรวจอยู่ตลอดช่วงเวลาที่กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น ตามหน้าที่จะต้องลงมาดูตั้งแต่แรกแล้วว่ามันเกิดความสับสนอลหม่านแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร แต่ผลปรากฏว่าหายหัวไปไหนก็ไม่รู้ทั้งสองคน
.
ความคลุมเครือและสับสนที่เกิดขึ้น ทำให้ถึงจุดนี้ มีตำรวจอีก 100 นายไม่ประสงค์ที่จะเข้ารับการฝึกตำรวจราบในพระองค์ เพื่อปรับโอนย้ายไปอยู่ในหน่วยงานที่พวกเขาไม่รู้จัก เพราะผลกระทบโดยตรงที่จะเกิดขึ้นหากมีการย้ายสังกัด นั่นคือพวกจะต้องหลุดออกจากเส้นทางการเติบโตในอาชีพตำรวจตามโครงสร้างปรกติ จากที่ยังพอคาดหมายได้ว่าอนาคตจะได้เลื่อนขั้นไปเป็นตำแหน่งอะไรได้ในเวลากี่ปีๆ ผ่านการดูกฎ ก.ตร. ฉบับต่างๆ สามารถวางเป้าหมายในชีวิตได้ ก็กลายเป็นต้องเข้าไปสู่ดินแดนที่ไม่รู้จัก ไม่รู้ว่าต้องไปเริ่มต้น ณ จุดไหน ปลายทางคืออะไร และต้องใช้ชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์เช่นใด
.
ซึ่งเรื่องมันก็ควรจะจบลงที่ตรงนี้ เมื่อทั้ง 100 คนไม่ขอรับตำแหน่ง พวกเขาก็ควรกลับไปทำงานที่เดิม แต่ที่มันไม่จบ ก็เพราะปรากฏว่า สตช. ได้มีคำสั่งแต่ง ลงนามโดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการฝึกอบรมธำรงวินัยตำรวจ และให้นายตำรวจทั้ง 100 คนนั้น ไปเข้ารับการ “ธำรงวินัย” หรือการลงโทษ เป็นระยะเวลานานถึง 9 เดือน
.
ลองดูเอกสารนะครับ จะทำโทษกันทั้งที ต้องทำเป็นโครงการ ตั้งงบประมาณโดยมีวงเงินรวมกว่า 12 ล้านบาท ภาษีประชาชน 12 ล้านบาท จ่ายไปเพียงเพื่อลงโทษตำรวจที่ไม่สมัครใจร่วมโครงการงงๆ ที่สั่งมาจากคนนอก สตช.
.
ท่านประธานครับ พอคำสั่งธำรงวินัยออกมา มีตำรวจ 3 นาย ลาออกทันทีเพราะรับไม่ได้กับสิ่งที่พวกเขาต้องประสบพบเจอ
.
ส่วนอีก 97 นายก็ถูกส่งไปธำรงวินัย เท่าที่ทราบจากตำรวจที่ถูกลงโทษ ปรากฏว่า เดือนที่ 1 พวกเขาถูกส่งตัวไปที่ จ.ยะลา สัปดาห์แรกต้องเข้าป่า ห้ามอาบน้ำ บางวันห้ามกินข้าว สัปดาห์ต่อๆ มา ก็เป็นการฝึกท่ามือเปล่า ท่าพระราชทานกลางแดดร้อน ฝึกราวกับพวกเขาเป็นคนไร้ระเบียบวินัย ทั้งๆ ที่พวกเขาก็อยู่ใน 873 คนที่ผ่านการฝึกมา การันตีแล้วว่ามีวินัยสูง
.
และอีก 8 เดือนที่เหลือก็ถูกส่งตัวมาฝึกต่อที่ศูนย์ฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจกลาง หนองสาหร่าย จ.นครราชสีมา
.
รวมระยะเวลา 9 เดือน ที่ตำรวจ 97 นายนี้ หายไปจาก สน. หายไปจากท้องที่ หายไปจากงานที่ตัวเองเคยรับผิดชอบ ต้องห่างพ่อห่างแม่ ไกลจากลูกเมีย ส่งผลกระทบเกิดเป็นความเสียหายทั้งต่อราชการ และต่อชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวนายตำรวจเหล่านี้ โดยที่ พล.อ.ประยุทธ์กับ พล.อ.ประวิตรก็ยังหายหัวไปไหนก็ไม่รู้
.
และไม่ใช่ว่าธำรงวินัยเสร็จสิ้นครบ 9 เดือนแล้วเรื่องมันจะจบ เพราะภายหลังจากที่ตำรวจทั้ง 97 นายได้กลับมาจากการฝึก แทนที่จะให้พวกเขากลับมาทำงานตามปรกติ ได้เติบโตกันไปตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.ตร. ตามลำดับอาวุโสของแต่ละคน พวกเขากลับถูกดองไม่ให้โต ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ไม่ได้รับการมอบหมายงานที่จะได้แสดงความสามารถ ได้ทำแต่งานอำนวยการ งานธุรการ

Limp royalistness

พระราชนิยมที่พิกลพิการ

โดย thaipoliticalprisoners   (เนื้อหาที่อาจเข้าอ่านไม่ได้ในประเทศไทย)

https://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2021/02/24/limp-royalistness/

วิทิต มันตาภรณ์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเคยเป็นผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติผู้เชี่ยวชาญอิสระของสหประชาชาติและเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสอบสวนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ผลงานของเขาที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เรื่อง “ระบบประกันตัวของไทย – สร้างมาเพื่อคนรวยจริงหรือ?” ในงานประชุมทางเว็บที่จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“งานประชุม” หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

จากข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมักปฏิเสธการประกันตัวเป็นประจำในช่วงหลายปี 2549-2560 และจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งหมดได้รับการปฏิเสธการประกันตัวสามหรือสี่ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็วและคุณคิดว่า วิทิตและสำนักพิมพ์ของเขามีอะไรจะพูด แต่คุณคิดผิด

ไม่ใช่คำพูด แน่นอนว่ามีความคิดเห็นที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ “ช่องว่างระหว่างอำนาจที่ได้มาจากการรัฐประหารกับแรงบันดาลใจของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรม” และ “คดีที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ” และข้อความที่เหมาะสมเกี่ยวกับ การเข้าถึงการประกันตัว แต่ไม่มีคำเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการกระทำที่แปลกประหลาดของศาล

การทำงานของ วิทิต กับ สหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศหมายความว่าเขารู้ความจริง เขาไม่กล้าพูดหรือ

Limp royalistness  thaipoliticalprisoners   (Content may not accessible in Thailand) https://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2021/02/24/limp-royalistness/ 

Vitit Muntarbhorn is a Professor Emeritus at the Faculty of Law at Chulalongkorn University and was formerly UN Special Rapporteur, UN Independent Expert and member of UN Commissions of Inquiry on Human Rights.

His op-ed at the Bangkok Post, “Thailand’s bail system — is it made for the rich?“, was recently presented at a web-conference organized by Thammasat University.

https://thaipoliticalprisoners.files.wordpress.com/2012/01/jellyfish.jpg?w=235&h=176

“Discussing” lese majeste

Given the fact that lese majeste defendants were more-or-less routinely refused bail for the years from 2006 to 2017 and that four defendants – all political activists – have been denied bail three or four times in quick succession, and you’d think that Vitit and his publisher would have something to say. But you’d be wrong.

Not a word. Sure, there’s limp comments about “the chasm between power derived from the coup d’etat and the aspirations of a democratic and just society” and “the spate of cases in relation to freedom of expression and peaceful assembly,” and some appropriate statements about access to bail. But nary a word on lese majeste and the bizarre actions of the courts.

Vitit’s work with the UN and on international law means he knows truth. Does he dare not speak it?

3 KarenNat’ Army to Myawady

เมียวดี”สถานการณ์ตรึงเครียด หลังกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเคลื่อนกำลังพลเข้าเมือง เผชิญหน้ากับตำรวจและทหารของรัฐบาลพม่า พร้อมวางกำลังคุ้มกันประชาชนในการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร .

สื่อท้องถิ่นของพม่ารายงานว่า พบความเคลื่อนไหวของกองทัพชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งประกอบด้วย กองกำลังทหารสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ (Karen National Unine, KNU) , กองกำลังกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army, KNLA) และกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (Democratic Karen Buddhist Army, DKBA) ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  .

โดยกองทัพชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้เคลื่อนพลติดอาวุธเข้ามายังเมืองเมียวดี เพื่อวางกำลังรอบพื้นที่ชุมชนของชาวเมียนมาที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงเข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ด้วย ในการต่อต้านการทำรัฐประหารของนายพล “มิน อ่อง หล่าย” และการเคลื่อนพลครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อดูแลความไม่สงบและปกป้องชาวบ้านในพื้นที่โดยเฉพาะ.

นอกจากนี้ทางกองทัพชาติพันธุ์กะเหรี่ยงยังเรียกร้องให้คณะรัฐประหารคืนอำนาจให้กับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) รวมถึงปล่อยตัวนาง “อองซาน ซูจี” และนักการเมืองคนอื่นๆรวมถึงผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข.

ในขณะนี้ทางกองทัพชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้เตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และวางกำลังรอบพื้นที่การชุมนุมประท้วง เพราะทหารเมียนมาและตำรวจต้องการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมดังกล่าว .

อย่างไรก็ตามนี่ถือเป็นครั้งแรกที่กองกำลังติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับชาวเมียนมา ซึ่งทางองค์การสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงก็ไม่ได้มีการคัดค้านการกระทำนี้แต่อย่างใด .

ทำให้ในตอนนี้ฝั่งตำรวจและทหารเมียนมาได้แต่คุมเชิงสถานการณ์อยู่โดยรอบ ไม่เปิดฉากเข้าสลายการชุมนุมเหมือนในเมืองอื่นๆของพม่า เนื่องจากฝั่งผู้ชุมนุมก็มีกองกำลังติดอาวุธคุ้มกันอยู่เช่นกัน

BetterCheaperPurchase-ThaiArmy

กองทัพบกตั้งโต๊ะแถลงเรื่องที่ถูกอภิปรายว่า กองทัพซื้อกางเกงใน เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ผ้าเช็ดตัว รองเท้าถุงเท้าทหาร ราคาแพงกว่าทัองตลาดถึง 47%ว่า เป็นเพราะกางเกงใน เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ผ้าเช็ดตัว เป็นสเปคทหาร สินค้าจะทนทานเป็นพิเศษเลยราคาแพงกว่าปกติ

กองทัพบกคงเห็นประชาชนกินหญ้ากันทั้งประเทศ ถึงกล้าแถลงกันแบบนี้

เสื้อผ้าที่แจกทหารเกณฑ์ ไปจนถึงผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว มันทนทานพิเศษกว่าทั่วไปตรงไหน

สเปคทหารมันต่างจากชาวบ้านแค่ตรงราคาแพงพิเศษกว่าชาวบ้านเขาเท่านั้นแหละ

สเปคทหารมันต่างจากชาวบ้านแค่ตรงราคาแพงพิเศษกว่าชาวบ้านเขาเท่านั้นแหละ