http://www.humanrights.asia/news/ahrc-news/AHRC-STM-099-2014-TH
ประเทศไทย: กองทัพเริ่มจับตัวผู้คน
May 30, 2014
ในเวลา ๓ นาฬิกา ของวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึก และสองวันถัดมา พล.อ.ประยุทธ์ก็เป็นผู้นำก่อรัฐประหารท่ามกลางสถานการ์อันไม่แน่นอน ซึ่งมีกฎอัยการศึกและรัฐบาลรักษาการแต่ในนาม ในเวลา ๕ นาฬิกา ของวันที่ ๒๒ คณะยึดอำนาจเรียกตัวเองว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ และตั้งตนเองเป็นผู้ปกครองอันที่จริง ความเข้มงวดเรื่องการห้ามแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพทางการเมืองมีมาตั้งแต่ใต้กฎอัยการศึกแล้ว กองทัพอ้างอำนาจล้นฟ้าในการจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจ ก่อนหน้าการยึดอำนาจนั้น มีความเข้มงวดต่อการแสดงออกทางการเมือง และหลังการยึดอำนาจแล้วคณะยึดอำนาจจึงห้ามการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมด การรัฐประหารได้เพิ่มอำนาจให้กับกองทัพ ในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองล่าสุดที่ดำเนินมามากกว่า 6 เดือน กองทัพเงียบมาโดยตลอด จนกระทั่งมาทำลายความเงียบด้วยการยึดอำนาจครั้งนี้
หนึ่งวันหลังจากการรัฐประหาร พลเมืองเริ่มการประท้วงต่อต้านรัฐประหารอย่างสันติ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อกฎอัยการศึกและคำสั่งของคณะรัฐประหาร การประท้วงเริ่มมาตั้งแต่ ๑๗ นาฬิกา ของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยประชาชนมารวมตัวกันต่อต้านอย่างสงบ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณสยามแสควร์ ซึ่งเป็นใจกลางกรุงเทพฯ ประชาชนผู้มาต่อต้านต่างก็จุดเทียนยืนรวมกันเป็นกลุ่ม และชูป้ายวิพาษ์วิจารณ์การยึดอำนาจและการใช้อำนาจของกองทัพ นอกจากนี้ การต่อต้านรัฐประหารยังเกิดขึ้นตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
หลังจากการประท้วงต่อต้านรัฐประหารเกิดขึ้นบางแห่ง กองทัพก็เริ่มปฏิบัติการจับกุมผู้ที่มาประท้วงและบังคับให้สลายตัว หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไทรายงานว่า เวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา มีผู้ที่ถูกจับหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างน้อยห้าคน เป็นหญิงสองคน เป็นชายสามคน โดยยังไม่ทราบชื่อผู้หญิงสองคนที่ถูกจับ ประชาไทรายงานว่าผู้ชายสามคนที่ถูกจับคือ นายธนาพล อิ๋วสกุล (บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน) นายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ และนายบุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์ (อายุ ๒๐ ปี) ต่อมาเวลาประมาณ ๒๐.๑๐ นาฬิกา ทหารเข้ายึดพื้นที่ได้ และผู้ชุมนุมก็สลายตัวลง ขณะนี้ยังไม่ทราบถึงสภาพของประชาชนเหล่านั้น และสถานที่ๆพวกเขาถูกจับไปแต่อย่างใด
ตามกฎอัยการศึกที่ประกาศมาตั้งแต่สองวันก่อนยึดอำนาจนั้น ทหารมีอำนาจในการคุมขังและสอบสวนใครก็ได้เป็นเวลาเจ็ดวันโดยไม่ต้องมีหลักฐานหรือข้อกล่าวหา ประชาชนอาจถูกคุมขังในสถานที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฐานทัพชั่วคราว หรือสถานที่อื่นๆที่มีไว้สำหรับการกักตัว การคุมขังในสถานที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ อาจทำให้การละเมิดสิทธิเพิ่มขึ้น เช่น การทรมาน การบังคับให้สูญหาย และทำให้เกิดการวิสามัญฆาตกรรม ตัวอย่างกรณีเช่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีการประกาศกฎอัยการศึกตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๗ และกฎอัยการศึกนี้เองเป็นเครื่องมือในการจับกุมคุมขังนักกิจกรรมทางการเมืองและพลเมืองทั่วไปตามอำเภอใจ
ในช่วงเวลาแห่งความสับสนอลหม่านทางการเมืองที่เกิดมาตั้งแต่การปฏิวัติครั้งก่อน ในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นั้น วัฒนธรรมการปกป้องคุมครองสิทธิมนุษยชน และการวิพากษ์วิจารณ์ความอยุติธรรม ก็เติบโตแข็งแรงขึ้นในสังคมไทย นักวิชาการ ปัญญาชน นักเขียนที่ไม่ได้สังกัดมหาวิทยาลัยใดๆ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ผู้ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน นักเรียน นักศึกษา และคนอีกจำนวนมาก ได้เขียน พูด และแสดงความเห็น ต่อต้านการใช้ความรุนแรง ต่อต้านความไม่โปร่งใสของการใช้อำนาจรัฐ การบังคับใช้กฏหมายอย่างไม่เท่าเทียม และการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความตื่นตัวและการเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารครั้งล่าสุด ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และการประท้วงเหล่านี้คงจะมีต่อไปเรื่อยๆ ทางคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียจึงมีความเป็นห่วงว่า ผู้ที่เคลื่อนไหวปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้ที่แสดงการวิพากษ์วิจารณ์ ในช่วงระยะแปดปีที่ผ่านมา จะตกเป็นเป้าในการจับกุมของคณะยึดอำนาจ คณะกรรมาธิการฯ ยังเป็นห่วงอีกด้วยว่า การมีอำนาจล้นฟ้าของทหารภายใต้กฎอัยการศึกที่ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไป ทำให้คณะรัฐประหารไม่ต้องถูกตรวจสอบ และไม่มีความโปร่งใส และจะยิ่งสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวที่ทำลายหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอประณามการยึดอำนาจ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของคนไทยครั้งนี้อย่างถึงที่สุด เรามีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งถึงความปลอดภัยของ นายธนาพล อิ๋วสกุล นายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ นายบุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์ และคนอื่นๆที่ถูกจับตัวไปโดยทหาร จากการที่พวกเขาออกไปต่อต้านการยึดอำนาจอย่างสันติ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ทั้งนี้ เพราะพวกเขาเป็นประชาชนคนธรรมดาที่แสดงความคิดเห็นอย่างสงบ และไม่ได้เป็นอันตรายต่อใคร คณะกรรมาธิการฯ ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติปล่อยตัวคนเหล่านี้ และคนอื่นๆที่ถูกคุมขังตามอำเภอใจโดยทันที
http://www.humanrights.asia/news/ahrc-news/AHRC-STM-099-2014
THAILAND: Army begins arrests
At 3am on May 20, 2014, General Prayuth Chan-ocha, the Commander-in-Chief of the Royal Thai Army, announced that martial law was immediately in force. After two days of uncertainty, in which martial law co-existed with the constitution and the caretaker government remained nominally in power, General Prayuth led a coup at approximately 5 pm on May 22, 2014. A military junta, acting in the name of the National Order Maintenance Council (NOMC), abrogated the 2007 Constitution and installed itself as the government. Under martial law, there were already significant restrictions on freedom of expression and political freedom in place, and the military possessed extensive power to arrest and detain arbitrarily. Prior to the coup, there were severe restrictions on political demonstration put in place; subsequent to the coup, all political gatherings are illegal. The coup has intensified the power of the military. After over six months of increasing political contention during which the military remained largely silent, they have spoken through the violence of the coup.
Thanapol Eawsakul — source is Matichon TV
One day after the coup, citizens began to peacefully express their opposition to the coup in defiance of martial law and the junta’s orders. Beginning at 5 pm on May 23, 2014, hundreds of Thai citizens began peacefully demonstrating against the coup in front of the Bangkok Art and Cultural Center in Siam Square in central Bangkok. Citizens lit candles and stood in groups and held signs criticising the coup and the imposition of military rule. Similar gatherings were held in other cities throughout the country.
After allowing the protest to take place for several, the military then took action to arrest peaceful demonstrators and end the event. Prachatai online newspaper has reported that 7.30 pm, at least five persons, two women and three men, were arrested by the soldiers in front of the Bangkok Art and Cultural Center. The identities of the two women are not known, but Prachatai has reported that the three men who were arrested and taken are Thanapol Eawsakul (editor of Same Sky magazine), Apichat Phongsawat, and Bunyarak Wattanarat (age 20) (A video of the arrest was made by Matichon TV and can be viewed here) By 8.10 pm, the soldiers had taken control of the area and the demonstrations had dispersed. At this time of this statement, the location and conditions of the five people taken by the soldiers is not known.
Apichat Phongsawat — source is Prachatai
Under the terms of martial law, which have been in place since two days prior to the coup, soldiers can detain and interrogate anyone for up to seven days without having to provide evidence of wrongdoing or bring formal charges. People arrested can be held at irregular places of detention, including permanent or temporary military bases or other sites designated as places of detention. Detention in irregular places means that the possibility for rights violations, including torture, forced disappearance and extrajudicial execution is greatly increased. In southern Thailand, where martial law has been in continual force since January 2004, the instrument has been used to arbitrarily detain and activists as well as ordinary citizens.
In the years of political turmoil since the September 19, 2006 coup, a strong and robust culture of human rights protection and criticism of injustice has grown in Thailand. Scholars, intellectual and writers outside universities, human rights lawyers and nongovernmental organization activists, students, and others have publicly written, spoken, and demonstrated against state violence, the lack of accountability for state abuses, the unequal application of law and the constriction of freedom of speech. This awareness and action in the service of human rights is behind the peaceful protests against the coup on May 23, 2014. These protests are likely to continue. The AHRC is concerned that human rights defenders and dissidents who peacefully protest, or who have expressed criticism in the past eight years, will be targeted by the junta. The AHRC is further concerned that given the extensive powers granted to the military under martial law and in absence of a constitution, the actions taken by the junta will lack transparency and accountability, and will function to create an atmosphere of fear that is detrimental to human rights and the rule of law.
The Asian Human Rights Commission unequivocally condemns the coup and crackdown on rights and liberties in Thailand. The AHRC is gravely concerned about the safety of Thanapol Eawsakul, Apichat Phongsawat, Bunyarat Wattanarat and others who were arrested and taken by the military following the peaceful demonstration on May 23, 2014. They are citizens who were expressing their opinion peacefully and are a danger to no one. The AHRC calls on the National Order Maintenance Council to immediately release them and any others who are being arbitrarily detained