เสรีภาพ

ขอทำความเข้าใจในเรื่องเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Expression)

สืบเนื่องมาจากกระทู้นี้นะคะ ถืง กอรมน, ศอฉ. หน่วยข่าวกรอง และ ICT of Thailand

สมาชิกในเวปหลายท่าน ได้กล่าวถึงเรื่อง การเปิดไฟเขียว ของ ดร. ริชาร์ดในเวปแห่งนี้ เมื่อทางการของประเทศไทย ยังคงบล๊อคเวป InternetFreedom.us อยู่ โดยบางท่านเข้าใจกันว่า สามารถ “ใส่เกียร์เดินหน้า” ได้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากความรับผิดชอบ เรื่องนี้ ดิฉันขอยืนยันว่า ไม่ถูกต้องทั้งหมด ตามที่ท่านได้ตีความไปเองนะคะ

ดิฉันเคยปรึกษาผู้ที่ทำงานด้านกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาหลายท่าน รวมทั้งเพื่อนๆ ที่เคยเป็น Civil Rights Attorneys และ Public Defenders คำจำกัดความง่ายๆ ของ เสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น นั้นคือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน นั่นเอง

รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ในบทบัญญัติเพิ่มเติม (First Amendment) ว่า บุคคลสามารถแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ได้อย่างเสรี รวมไปถึง การใช้รูปภาพ สัญญลักษณ์ ป้ายต่างๆ ในการประท้วง ดังนั้น จึงไม่ใช่หมายความถึงแค่การใช้คำพูดเท่านั้น เรามาเรียนรู้การใช้คำว่า Freedom of Expression ให้ถูกต้องกันนะคะ (Speech หรือ คำพูด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Expression)

ก่อนที่ท่านจะโพสต์นั้น ควรรับทราบเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างที่ ไม่ครอบคลุม อยู่ใน Freedom of Expression ตาม บทบัญญัติเพิ่มเติมที่ 1 ของรัฐธรรมนูญประเทศสหรัฐอเมริกา (First Amendment of the Constitution of the United States) เพราะหากท่านโพสต์สิ่งใดๆลงไป ท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตัวของท่านเอง:

1. Defamation – หมายถึง การหมิ่นประมาท: การหมิ่นประมาท ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ต่างกับ การหมิ่นฯ ในประเทศไทย ซึ่งใช้คำว่า Lèse majesté (การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เนื่องจากว่า ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้ืน เป็นคดีแพ่ง หรือ Civil Law แต่ในประเทศไทยกลายเป็นกฎหมายอาญา หรือ Criminal Law ที่มีโทษรุนแรงไป

คำอธิบายในเรื่องนี้ ขยายความต่อไปว่า Defamation consists of a publication of a statement of alleged fact which is false and which harms the reputation of another person. — การหมิ่นประมาทนั้น รวมไปถึง การป่าวประกาศด้วยถ้อยคำหรือการแถลง ซึ่งกล่าวหรืออ้างอิงข้อมูลที่เป็นความเท็จ และสามารถก่อความเสียหายให้กับชื่อเสียงของบุคคลคนหนึ่งได้. (แต่ ถ้าคนที่กล่าวอ้างนั้น มีหลักฐานแสดงไว้ เขาจะกลายเป็นผู้ที่ปกป้องผลประโยชน์ให้กับทางสาธารณะ จึงมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Whistleblower Protection Act ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับ ผู้ที่ช่วยนำเอาความลับ มาแสดงให้ทางสาธารณะทราบว่า องค์กรหรือสังคมกำลังอยู่ในอันตราย – คล้ายๆ กับผู้ที่นำคลิปศาลรัฐธรรมนูญ มาเปิดให้ฟังนั่นแหละค่ะ ถ้าเขาอยู่ที่อเมริกานี่ เขาจะกลายเป็น hero ในเรื่อง Whistleblower Protection Act ทันที)

ดังนั้น หากเราจะด่าทอ ว่ากล่าวใคร ท่านต้องมีข้อมมูลที่เป็นหลักฐานอ้างอิงด้วย เพราะไม่อย่างนั้น จะกลายเป็นว่าท่านกำลังกระทำการหมิ่นประมาท ซึ่งเรื่องนี้ ท่านไม่ได้รับการปกป้องโดยรํฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจรวมไปถึง Slander แปลว่า การใส่ร้ายป้ายสี; Torts หรือ การละเมิดสิทธิบุคคลผู้อื่น และ Libel หรือการกล่าวโทษใส่ร้าย ตามมาด้วย

2. Causing Panic หรือ คำพูดที่สร้างความหวาดกลัวหรืออกสั่นขวัญหาย. ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การตะโกนในโรงภาพยนต์ว่า “ไฟไหม้” เมื่อไม่มีสัญญาณว่า ไฟกำลังไหม้อยู่ กรณีนี้ ไม่ถือว่าอยู่ใน Freedom of Expression

3. Fighting Words คือคำพูดที่ยุยงให้เกิดการทำร้ายร่างกายและจิตใจกันได้ คำอธิบายได้กล่าวว่า fighting words — those which by their very utterance inflict injury or tend to incite an immediate breach of the peace – เป็นคำพูด ที่เป็นสาเหตุของการก่อให้เกิด การบาดเจ็บสาหัสอย่างทุกข์ทรมานหรือมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นหรือทำลายความสงบ สุข เรื่องนี้ก็อธิบายโดยความหมายของมันเรียบร้อยแล้ว.

4. Incitement to Crime – คือการกระทำที่ไปกระตุ้นให้ไปก่ออาชญากรรม

5. Sedition – หรือการปลุกระดมมวลชนให้ต่อต้านรัฐบาล หรือ การปลุกระดมมวลชน ให้ก่อความไม่สงบรวมไปถึงการก่อกบฎด้วย เรื่องนี้ไม่ครอบคลุมอยู่ในเสรีภาพทางรัฐธรรมนูญค่ะ (เรื่องนี้ เกี่ยวกับ slavery ในอเมริกา เมื่อสมัยก่อนค่ะ)

6. Obscenity หรือ เรื่อง หยาบคาย, ลามก อนาจาร รวมไปถึง การใช้คำพูด, รูปภาพ กระทำเหล่านี้ ก็ไม่ครอบคลุมอยู่ใน Freedom of Expression ด้วยเช่นกัน รวมไปถึง การโพสต์รูปเปลือยของผู้เยาว์ หรือ Child Pornography ด้วย

7. Perjury and Blackmail คำแรกแปลว่า การโกหก เมื่อได้สาบานก่อนให้คำให้การแล้วว่า จะกล่าวความจริงตามความสัตย์ คำทีสองเป็นเรื่องของการหักหลัง เพื่อผลประโยชน์ เรื่องนี้ไม่ครอบคลุมไปใน Freedom of Speech

หากผู้ดูแลบอร์ด เห็นข้อหนึ่งข้อใด เกิดขึ้น ควรเก็บข้อความที่โพสต์เหล่านั้น ออกจาก Public View ทันที เนื่องจากว่า มันมีผลทางกฎหมายที่นี่ (การกระทำเช่นนี้เป็นการช่วยปกป้องสมาชิกท่านนั้น)

เพิ่มเติม: ทางศาลสูงสุด ไม่ได้ลงความเห็นไว้ แต่ทางพฤตินัยนั้น ก็ไม่ควรกระทำเช่นกัน เช่น:

8. Offense หรือ การก้าวร้าว ข่มขู่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อมีการปล่อยให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

9. Establishment of Religion หรือ การประกาศศาสนา (ลัทธิความเชื่อ) เรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และ กระทบจิตใจคนฟังได้ง่าย เนื่องจากผู้ฟัง(อ่าน)ไม่ได้คล้อยตามที่ได้โพสต์ไว้ เกิดความรำคาญ จึงดูถูกศาสนาหรือลัทธินั้น เป็นที่มาของเรื่องที่ไม่ควรโพสต์ เพราะจะกระทบจิตใจและสร้างความตึงเครียดให้กับทั้งตนเองและผู้อื่นเปล่าๆ (บางคนชอบโพสต์ในทำนอง คลั่งใคล้เจ้ามากๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่สมควรทำ)

ดังนั้น การใช้เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น  จึงไม่ใช่ “ไฟเขียว” ตามที่เพื่อนสมาชิกเข้าใจว่า เขียนอะไรลงไปก็ได้ โดยปราศจากความรับผิดชอบ  ประเด็นเหล่านี้ ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ความรับผิดชอบไม่ได้อยู่ที่ตัว คุณ ริชาร์ดนะคะ แต่ท่านผู้โพสต์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง ซึ่งต่างกับกฎหมายไทยที่เอาผิดกับ Webmaster ค่ะ

ขอให้เพื่อนสมาชิก พยายามทำความเข้าใจให้ดี ซึ่งไม่ยาก เพราะที่นี่ใช้ Common Law หรือเป็นแบบสามัญสำนึกว่าอะไรควรหรือไม่ควรมากกว่า อย่าไปตีความตามตัวอักษร เพราะมันจะพลิกแพลงแบบที่เห็นในเมืองไทย

เมื่อเราเข้าใจในเรื่อง Freedom of Expression เราก็จะเข้าใจในสิทธิที่เรามีอยู่ รวมไปถึงสิทธิของบุคคลผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่ จะ “สาดโคลน” ใครต่อใครตามใจชอบ โดยปราศจากเหตุผล ซึ่งไม่ใช่ Freedom of Expression นะคะ เป็นเรื่องของ Irresponsibility หรือ การขาดความรับผิดชอบมากกว่า…

ดวงจำปา

————-

ภาคที่สอง: เรื่อง การวิจารณ์สถาบันกษัตริย์

ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา การวิจารณ์หรือ criticism นั้น ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ถ้าท่านมีพยานหลักฐานหรือการอ้างอิงแล้วเขาก็ถือว่า เป็นเรื่องของ Freedom of Expression การวิจารณ์สามารถกระทำได้ทั้งในเชิงวิชาการหรือในทางแง่กฎหมาย ตามสิทธิเสรีภาพ

และที่สำคัญคือ ตัวของกษัตริย์เองนั้น ก็ได้อนุญาตให้วิจารณ์ตัวท่านเองไว้แล้ว
กรณีนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ในทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ภาษาอังกฤษเรียกว่า gave the verbal consents คือตัวบุคคลนั้น ได้ใช้คำพูดซึ่งอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การวิจารณ์ จึงทำได้ตามที่อนุญาตไว้ค่ะ และนอกจากนั้น ตัวท่านเองก็ไม่ได้ระบุว่า ใครบ้างที่สามารถวิจารณ์ได้ ดังนั้นการตีความจึงหมายถึงว่า บุคคลทั่วไปใครคนหนึ่งคนใด หรือ anyone ก็สามารถวิจารณ์ได้

หลักฐานที่ว่านี้ ปรากฎตามข้างล่างนี้ค่ะ (ICT และเจ้าหน้าที่ทางการเมืองไทย คุณฟังไว้ด้วยว่า คุณไม่สามารถบล๊อคหรือลบ นะคะ เพราะถ้าคุณบล๊อคหรือลบทิ้ง คุณก็จะกระทำผิดกฎหมาย Suppression of materials fact (ปิดกั้นข้อเท็จจริง) และไม่เคารพต่อ คำกล่าวของกษัตริย์ของพวกคุณเองด้วย พวกคุณเองต่างหากที่ล่วงเกินต่อท่านเอง)

ข่าวจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ประจำวันที่ 5 ธันวาคม 2548

[Image: criticism.jpg]

วิดีโอประกอบจาก YouTube:

ดัง นั้น การวิจารณ์ ตัวของกษัตริย์เอง ว่า “ดีหรือไม่ดี” นั้น ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถปกป้องตัวผู้โพสต์ได้ เนื่องจากการ consents(อนุญาต) ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ประการต่อมา รัฐสภาไทยจะสามารถออกกฎหมาย ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดในการวิจารณ์กษัตริย์ในอนาคตได้ แต่ต้องระบุให้เอาคำพูดในวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เป็นโมฆะไปเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ท่านไม่สามารถจะเอาผิดกับบุคคลที่ได้วิจารณ์ก่อนหน้านั้นได้ และถึงแม้ว่า เขาจะกระทำในวันนี้ รัฐบาลไทย ก็ไม่สามารถลงโทษความผิดย้อนหลังได้ เพราะบุคคลที่วิจารณ์นั้นถือได้ว่า ได้รับการยกเว้น เป็น Grandfather Clause ไปเรียบร้อยแล้ว (หมายถึงว่า เหตุการณ์ได้เกิดก่อนที่มันจะกลายเป็นกฎหมาย) เรื่องนี้ เป็นหลักการสากลที่เขายอมรับอยู่ทุกประเทศ

ศาลต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับ เวลาที่ให้ consents (การอนุญาต) กล่าวคือ ท่านได้ให้ consents(การอนุญาต) มาตั้งแต่ปี 2548 และยังไม่มีกฎหมายใดๆออกมาลบล้าง แม้แต่ ม 112 ก็ไม่สามารถลบล้างให้คำอนุญาตนั้น ให้เป็นโมฆะ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็ยังคงอยู่ค่ะ เนื่องจาก เป็นความประสงค์ของประมุขของประเทศที่ต้องการให้มีการวิจารณ์ได้ แต่รัฐบาลไทยเองต่างหากที่ออกมาขัดความประสงค์ของประมุขเอง จริงไหมคะ?

เรื่องการวิจารณ์ สามารถกระทำได้ในแง่ของ Freedom of Expression ค่ะ

ข้อสำคัญคือ การวิจารณ์จะต้องไม่ตกไปอยู่ในข้อหนึ่งข้อใด (ในเรื่องที่ไม่ครอบคลุมเกี่ยวกับ Freedom of Expression ที่กล่าวไว้ใน 7 ข้อแรกที่ดิฉันได้กล่าวไว้ และไม่สมควรกระทำใน 2 ข้อหลัง)) นอกเหนือจากนั้น ท่านสามารถวิจารณ์ได้อย่างเป็นอิสระ

ในกรณี คดีของคุณ ดา ตอร์ปิโด และท่านอื่นๆที่ถูกยัดเข้าคุก
หากเรื่องนี้เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา จะไม่สามารถเอาผิดตามกฎหมายได้
เนื่องจากบุคคลที่ถูกวิจารณ์ได้ให้ consents(คำอนุญาต) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณดาและท่านเหล่านั้น สามารถฟ้องร้องกลับได้ค่ะ…

————————
เรียนท่านดร.ริชาร์ดและคณะผู้ดูแลบอร์ด ด้วยความเคารพ

ดิฉันขอแสดงความเห็นว่า ควรจะมีผู้ดูแลบอร์ดอยู่ เนื่องจาก เป็นการป้องกันและช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกผู้โพสต์ด้วย และดิฉันมั่นใจมากๆ ว่า จะต้องมี ผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่างขั้ว ที่เข้ามาแบบยั่วยุ และ ก่อให้เกิดความขุ่นเคือง ปั่นป่วนยุยงในการโพสต์อยู่ดี

เมื่อ ดร ริชาร์ด อนุญาตให้มีการการวิจารณ์ได้ ผู้ดูแลบอร์ดช่วยตรวจสอบในเรื่อง การวิจารณ์ แบบยั่วยุด้วย

เพราะบางทีนั้น การใส่อารมณ์ในความคิดเห็น มันทำได้ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและหลักฐานอ้างอิง

Moderators จะเป็นบุคคลที่สำคัญในเรื่องนี้ เพราะต้อง balance ระหว่าง ข้อความที่โพสต์ กับ กฎหมายในเรื่อง Freedom of Expression ด้วย

Moderators ทุกท่าน ควรอยู่ต่างประเทศและเข้าใจกฎหมายเรื่องนี้เป็นอย่างดี จะได้ช่วยกันปกป้องสมาชิก IFค่ะ

แค่นี้ก่อนนะคะ เขียนมาเยอะ เดี๋ยวจะงงกันทั้งคนเขียนและคนอ่าน…

ดวงจำปา

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s